Skip to main content
sharethis

8 ม.ค. 68 ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 6 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) ที่ผ่านมามีวาระพิจารณาและลงมติ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ (ร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์) ในวาระที่ 2 เพื่อให้ที่ประชุมสภาฯ ลงมติว่าจะเห็นชอบร่างกฎหมายที่หรือไม่ ซึ่งหนึ่งในเรื่องที่มีข้อถกเถียงมากที่สุดเรื่องหนึ่งในการประชุมสภาฯ คือ มาตรา 3 ที่มีการนิยามคำว่า "ชนเผ่าพื้นเมือง" (Indigenous People) โดยฝ่ายรัฐบาลที่สนับสนุนให้ตัดคำว่า "ชนเผ่าพื้นเมือง"

อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.รวมไทยสร้างชาติ ลุกขึ้นอภิปราย ว่าในประเทศไทย คนเผ่าไทยอยู่ตรงนี้รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย พี่น้องที่อยู่ตามชายขอบเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งพรรครวมไทยสร้างชาติเคารพทุกกลุ่ม และการออกกฎหมายฉบับนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่มีใครอยากเป็นชนเผ่า ทุกคนอยากมีบัตรประชาชน และประเทศไทยมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เราไม่ปฏิเสธกลุ่มชาติพันธุ์ เราคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านกฎหมายฉบับนี้

ที่ตนสนับสนุนให้ตัดคำว่า ‘ชนเผ่าพื้นเมือง’ ออกไป เนื่องจากไทยลงนามในปฏิญญาชนเผ่าพื้นเมือง UNDRIP ซึ่งในปฏิญญาดังกล่าวระบุถึงสิทธิการปกครองตนเอง นี่เป็นปัญหาด้านความมั่นคงของประเทศ การออกกฎหมายฉบับนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ ให้ได้เข้าถึงสิทธิทุกอย่างที่ต้องการ 100% ไม่ขาดตกบกพร่อง

ก่อนปิดท้ายข้อกังวลว่า หากยังมีคำว่า ‘ชนเผ่าพื้นเมือง’ ใน พ.ร.บ. วันหนึ่งอาจส่งผลกระทบเหมือนกับในปัญหาภาคใต้ที่มีคนแยกไปปกครองตนเองอย่างที่ฝ่ายความมั่นคงกังวล

ชลน่าน ศรีแก้ว สส.พรรคเพื่อไทย กล่าว ที่ตนไม่เห็นด้วยกับการมีคำว่า ‘ชนเผ่าพื้นเมือง’ เพราะในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 70 ไม่มีคำว่า ‘ชนเผ่าพื้นเมือง’ เพราะฉะนั้นการบัญญัติกฎหมายต่างๆ โดยมีคำว่า ‘ชนเผ่าพื้นเมือง’ เป็นไปไม่ได้ รัฐธรรมนูญเขียนเฉพาะ ‘ชาติพันธุ์’ 

ชลน่าน เสนอ ให้ต้องไปแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน และค่อยไปออกกฎหมายระดับรองลงมา

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่