Skip to main content
sharethis

9 ธ.ค. 2567 งานวิจัยส่วนบุคคลของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคนทั้งประเทศ จำนวน 4,679 คน เก็บแบบสอบถามระหว่าง 5-15 ตุลาคม 2567 โดยนักศึกษาปริญญาตรี-โท-เอก คณะรัฐศาสตร์ และปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 193 คน เก็บแบบสอบถามใน 55 จังหวัด

1.ข้อคำถามว่า “ท่านคิดว่า ควรยกเลิกอำนาจยุบพรรคการเมืองและตัดสิทธินักการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญ หรือไม่”

ผลการวิจัยพบว่า (มี 4,664 คนตอบคำถามข้อนี้)                                                                                         

  • ควรยกเลิก ร้อยละ 48.03 (2,240 คน)
  • ไม่ควรยกเลิก ร้อยละ 20.8 (970 คน)
  • ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 31.17 (1,454 คน)      

2.พิจารณาแยกเป็นรายภาค

คนที่เห็นว่าควรยกเลิกอำนาจยุบพรรคการเมืองและตัดสิทธินักการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญ

  • คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 52.4 จากคนกรุงเทพฯ ทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม
  • คนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 50.2 จากคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม
  • คนจากภาคเหนือ ร้อยละ 48.5 จากคนภาคเหนือทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม
  • คนจากภาคกลาง ร้อยละ 46.9 จากคนภาคกลางทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม
  • คนจากภาคใต้ ร้อยละ 43.9 จากคนภาคใต้ทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม

เห็นว่าไม่ควรยกเลิก

  • คนจากภาคใต้ ร้อยละ 23.8 จากคนภาคใต้ทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม
  • คนจากกรุงเทพฯ ร้อยละ 22.3 จากคนกรุงเทพฯ ทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม
  • คนจากภาคกลาง ร้อยละ 20.5 จากคนภาคกลางทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม
  • คนจากภาคเหนือ ร้อยละ 19 จากคนภาคเหนือทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม
  • คนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 16.5 จากคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม

3. พิจารณาผลสำรวจที่เกี่ยวเนื่อง

3.1 ผลสำรวจ ธำรงศักดิ์โพล ที่จัดเก็บเมื่อเมษายน 2566 ใน 57 จังหวัด จำนวน 4,588 คน

  • เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับ คสช. 2560 “เป็นเผด็จการ” ร้อยละ 56.80
  • เห็นว่ามีความ “เป็นประชาธิปไตย” ร้อยละ 12.96
  • ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 30.24

3.2 ผลสำรวจ ธำรงศักดิ์โพล ที่จัดเก็บเมื่อตุลาคม 2567 ใน 55 จังหวัด จำนวน 4,679 คน

  • เห็นว่า ควรจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ แทนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันปี 2560 ที่เกิดจากกระบวนการรัฐประหาร คสช. ร้อยละ 61.17
  • ไม่ควรจัดทำฉบับใหม่ ร้อยละ 9.8
  • ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 29.03

    3.3 ผลสำรวจ ธำรงศักดิ์โพล ที่จัดเก็บเมื่อเมษายน 2567 ใน 47 จังหวัด จำนวน 4,290 คน

    คำถามว่า ท่านเห็นด้วยกับการยุบพรรคก้าวไกลหรือไม่

  • เห็นด้วยกับการยุบพรรคก้าวไกล ร้อยละ 10.86
  • ไม่เห็นด้วยกับการยุบพรรคก้าวไกล ร้อยละ 68.58
  • ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 20.56

4. ประวัติศาลรัฐธรรมนูญฉบับย่อ

รัฐธรรมนูญไทยเริ่มต้นปี 2475 ด้วยการให้ที่ประชุมสภามีอำนาจในการพิจารณาตีความแห่งรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2489 ให้รัฐสภา (สส. และพฤฒสภา) ทรงไว้ซึ่งสิทธิเด็ดขาดในการตีความแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ทั้งนี้ให้มี  “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” มาจากการเลือกของที่ประชุมรัฐสภาที่มาจากเลือกตั้งโดยประชาชน รวม 15 คน วินิจฉัยตีความประเด็นปัญหารัฐธรรมนูญ และ “ให้ถือเป็นเด็ดขาดและให้ศาลปฏิบัติตามนั้น” (ม.86-89)

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มี “ศาลรัฐธรรมนูญ” เป็นองค์กรที่มาจากการสรรหาของวุฒิสภาที่มาจากเลือกตั้งแบบห้ามหาเสียง มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยตีความประเด็นปัญหารัฐธรรมนูญ ยุบพรรคการเมือง และตัดสิทธินักการเมือง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ (ม.255-270) เป็นองค์กรที่มีอำนาจเหนือสถาบันทางการเมืองอื่นๆ

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร คสช. 2557 ทั้งสิ้น

ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม (ตุลาคม 2567)

           เพศ : หญิง 2,445 คน (52.26%) ชาย 2,042 คน (43.64%) เพศหลากหลาย 192 คน (4.10%)

           อายุ : Gen Z (18-27 ปี) 2,368 คน (50.61%) Gen Y (28-44 ปี) 1,153 คน (24.64%) Gen X (45-59 ปี) 818 คน (17.48%) Gen Baby Boomer ขึ้นไป (60 ปีขึ้นไป) 340 คน (7.27%)

           การศึกษา : ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 416 คน (8.89%) มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 1,194 คน (25.52%) อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 531 คน (11.35%) ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 2,315 คน (49.47%) สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 223 คน (4.77%)

อาชีพ : นักเรียนนักศึกษา 1,978 คน (42.27%)  เกษตรกร 318 คน (6.80%)  พนักงานเอกชน 550 คน (11.75%) รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 418 คน (8.93%) เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 601 คน (12.85%) ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 441 คน (9.43%) พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 224 คน (4.79%) อื่นๆ 149 คน (3.18%)

           รายได้ต่อเดือน : ไม่มีรายได้ 1,168 คน (24.96%) รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 1,034 คน (22.10%) รายได้ 10,001-20,000 บาท 1,229 คน (26.27%) รายได้ 20,001-30,000 บาท 627 คน (13.40%) รายได้ 30,001- 40,000 บาท 257 คน (5.49%) รายได้ 40,001 บาทขึ้นไป 364 คน (7.78%)

เขตที่อยู่อาศัย : อบต. 1037 คน (22.16%) เทศบาลตำบล 1316 คน (28.13%) เทศบาลเมือง 767 คน (16.39%) เทศบาลนคร 230 คน (4.91%) กรุงเทพมหานคร 1,229 คน (26.27%) เมืองพัทยา 100 คน (2.14%)

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่