Skip to main content
sharethis

112 WATCH สัมภาษณ์ กฤษฎา ไอเคน อดีตผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ซึ่งตอนนี้เขาเป็นพลเมืองแคนาดา และเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย British Columbia

คุณลงเอยกับการเป็นผู้ลี้ภัยที่ประเทศแคนาดาได้อย่างไร ?

ก่อนการรัฐประหารปี 2557 เราเป็นหนึ่งในแอดมินเพจเฟซบุ๊กที่ชื่อว่า ‘Voice of Siam’ และแอดมินคนอื่นๆ ที่เป็นนักกิจกรรมได้ลี้ภัยมาที่ประเทศแคนาดา เพจนี้เป็นเพจวิจารณ์กองทัพและสถาบันกษัตริย์ด้วยการใช้มีม การเสียดสีและการอ้างอิงคำพูดคนอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ขณะนั้นมีผู้ติดตามเพจนี้จำนวน 60,000 คน

ทว่า หลังจากการรัฐประหารในปี 2557 แม้ว่าพวกเราจะไม่เคยละเมิดกฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์เลยก็ตาม แต่เราและแอดมินคนอื่นก็ถูกเรียกโดยกองทัพไทยจากกิจกรรมทางการเมืองบนออนไลน์ของพวกเรา ยิ่งไปกว่านั้นอาจจะไม่ใช่แค่เรื่องที่เราเป็นแอดมิน แต่มาจากการที่เราเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เช่น การร่วมลงชื่อในร่างกฎหมายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ของกลุ่มนิติราษฎร์

เมื่อตัดสินใจหนีจากประเทศไทย ทำไมเลือกประเทศแคนาดา และเมื่อมาถึงเมืองแวนคูเวอร์เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ?

ตอบ  ที่จริงแล้วไม่ได้เลือกที่จะลี้ภัยในแคนาดา เรามีญาติอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนั้น เราจึงคิดว่าประเทศสหรัฐฯ น่าจะเหมาะกับการอาศัยในระยะยาวมากกว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อเราถูกเรียกและถูกคุกคามโดยทหารในช่วงปี 2557 ช่วงนั้นเราไม่มีวีซ่าสำหรับประเทศไหนที่ปลอดภัยเลยรวมถึงประเทศสหรัฐอเมริกา หมายความว่า เราจำเป็นต้องหาประเทศที่เสนอวีซ่าให้ได้เร็วที่สุด ไม่สามารถรอได้ เพราะว่าผู้ที่เห็นต่างกับเผด็จการทหารหลายคนไม่ถูกจับหรือถูกออกหมายจับ ก็อยู่ในลิสต์ที่ถูกเผด็จการทหารเรียก เราจึงเลือกประเทศแคนาดาเพื่อที่จะลี้ภัย

เราใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์เพื่อที่จะได้รับวีซ่านักท่องเที่ยวเพื่อที่จะเดินทางไปแคนาดา แต่ถ้าเป็นประเทศอื่นที่เป็นที่นิยมสำหรับคนไทย ทั้งที่ไปเที่ยวหรือไปเรียนต่ออย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร ต่างต้องรอรับวีซ่านานกว่านั้น

เราออกจากไทยไปที่แวนคูเวอร์เพียงไม่กี่วันหลังจากได้รับวีซ่านักท่องเที่ยว น่าเสียดาย ในช่วง 2-3 ปีแรก ชีวิตในแวนคูเวอร์ลำบากมาก เพราะว่ารู้จักคนไม่กี่คนที่สามารถช่วยเหลือเรื่องการลงหลักปักฐานในประเทศใหม่ได้ หรือพูดอีกอย่างก็คือที่นั่นไม่มีเครือข่ายคนไทยที่คอยช่วยเหลือผู้ลี้ภัยแบบทุกวันนี้

ช่วยอธิบายกระบวนการลี้ภัยที่ประเทศแคนาดาแบบรวบรัดได้หรือไม่ และประเทศแคนาดา มีนโยบายเป็นมิตรต่อผู้ลี้ภัยหรือไม่ ?

ผู้ขอลี้ภัยจำเป็นต้องส่งหลักฐานการลี้ภัยไปที่หน่วยงาน IRB (Immigration and Refugee Board of Canada) เพื่อรับสถานะผู้ลี้ภัย ในกระบวนการรับฟัง จะมีพนักงานของหน่วยงาน IRB คอยตัดสินว่าผู้ขอลี้ภัยเข้าเกณฑ์ของอนุสัญญาผู้ลี้ภัยหรือไม่ และควรจะได้รับสถานะบุคคลที่ถูกคุ้มกัน ซึ่งเป็นไปตามนิยาม ตามเกณฑ์หรือไม่ คนที่ถูกปฏิเสธจาก IRB จะมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อหน่วยงานอุทธรณ์อีกครั้ง หากไม่ได้สถานะอีกครั้ง พวกเขาจะเนรเทศจากแคนาดา

ดังนั้น มันเป็นระบบที่จะได้รับหรือไม่ได้รับอย่างรวดเร็ว ในกรณีของเรา ช่องว่างระหว่างวันที่เรายื่นหลักฐานและกระบวนการรับฟังในช่วงเดือนตุลาคมปี 2557 ใช้เวลาแค่ 2 เดือน ช่วงเวลาที่ต้องรอผลกระบวนการรับฟังในช่วงนี้อาจจะนานถึง 12 เดือน ซึ่งน่าจะมาจากการทะลักของผู้ลี้ภัยจากยูเครนและซีเรีย

แม้ว่าจะรอนาน แต่นโยบายต่อผู้ลี้ภัยยังถือว่าเป็นมิตรมาก หากเทียบกับนโยบายของประเทศอื่นๆ ที่ปลอดภัย เท่าที่เราทราบ แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศที่รับผู้ลี้ภัยมากที่สุดในโลก ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วง 2-3 ปีหลัง รัฐบาลแคนาดาได้ริเริ่มนโยบายย้ายถิ่นฐานใหม่โดยเน้นช่วยเหลือผู้มีความหลากหลายทางเพศและเยาวชนนอกแคนาดาที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เยาวชนผู้เห็นต่างหลายคนในชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถูกดำเนินคดีกฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์จะได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลแคนาดาให้เดินทางจากไทยมาแคนาดา หลังจากได้รับสถานะลี้ภัยประมาณ 2-3 ปี ผู้ลี้ภัยในแคนาดาสามารถยื่นขอเป็นพลเมืองแคนาดา

ในมุมมองของคุณ เราจะช่วยกระจายข้อมูลของปัญหากฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์ต่อคนแคนาดาได้อย่างไร ?

กฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์กร่อนเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย มันเป็นเรื่องที่ยอมกันไม่ได้ในประเทศที่เรียกตัวเองว่าปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เนื่องจากกฎหมายนี้ถูกใช้ปิดปากผู้วิจารณ์และถูกใช้เพื่อรักษาระบอบทหารและราชาธิปไตยที่ฉ้อฉล ดังนั้น กฎหมายนี้ควรถูกยกเลิก กฎหมายนี้ไม่ได้ตั้งใจที่จะคุ้มครองสถานะอันเป็นที่เคารพสักการะของประมุขของรัฐอย่างที่กล่าวอ้าง ในทางกลับกัน กฎหมายนี้ลงโทษอย่างรุนแรงแบบไม่มีเหตุผล และแง่มุมอื่นของกฎหมายสร้างรอยด่างพร้อยขององค์พระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะการใช้กฎหมายนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเวลานี้

ลักษณะกฎหมายแบบนี้ของไทยต่างจากประเทศแคนาดาที่ปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง กษัตริย์ของประเทศอังกฤษผู้ซึ่งเป็นประมุขของรัฐแคนาดาถูกคุ้มครองโดยกฎหมายหมิ่นประมาทเหมือนกับประชาชนคนธรรมดา ที่นั่นไม่มีกฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์ หลายครั้งที่ราชวงศ์อังกฤษเสด็จมาที่แคนาดา พวกเขาถูกประท้วงโดยเฉพาะในพื้นที่ที่คนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก ไม่เคยมีใครถูกจับ เพราะการโจมตีกษัตริย์อังกฤษในแคนาดา,ในอังกฤษ หรือในที่อื่นๆ ที่มีกษัตริย์หรือราชินีของอังกฤษเป็นประมุข

ดังนั้น เราจะบอกกับเพื่อนชาวแคนาดาว่า คนไทยถูกฟ้องด้วยกฎหมายฉบับนี้จากการวิจารณ์สุนัขของกษัตริย์หรือโจมตีอดีตกษัตริย์ในศตวรรษที่ 18 เรื่องนี้ทำให้เพื่อนชาวแคนาดาตกใจเป็นอย่างมาก

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

มีเยาวชนกำลังลี้ภัยไปที่ประเทศแคนาดา มีคำแนะนำอะไรต่อผู้มีแผนว่าจะลี้ภัยไปต่างประเทศ ?

สิ่งแรกและเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการมีพาสปอร์ต มันเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากสำหรับการจ่ายเงิน 2 พันบาทเพื่อแลกกับหนังสือเดินทางและเอกสารยืนยันตัวตนที่สามารถอยู่ได้นาน 5-10 ปี ผู้ที่ต้องการลี้ภัยที่โดนคดี 112 หลายคนที่ไม่มีพาสปอร์ตจะทำให้การลี้ภัยของพวกเขาซับซ้อนมากขึ้น และได้รับการช่วยเหลือยากขึ้น ผมมีคำแนะนำอยู่ 4 ข้อ

ประการแรก การมีพาสปอร์ต (แม้จะไม่มีวีซ่า)จะต่างกับไม่มีพาสปอร์ตมาก

ประการที่สอง การมีแผนสองสำคัญมากสำหรับประเทศที่ภัยคุกคามทางการเมืองเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ หากว่าสามารถทำวีซ่าในประเทศที่ปลอดภัยได้ก็ควรหาโอกาสทำให้ได้

ประการที่สาม เรื่องอื่นที่ควรทำรวบรวมหลักฐานที่ถูกคุกคามจากระบอบให้ได้มากที่สุด เช่น การจับกุม หมายจับ หรือข่าวที่เกี่ยวข้องกับคดีของคุณ จากนั้นให้แปลหลักฐานทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อคุณถึงประเทศปลายทางและเริ่มกระบวนการขอลี้ภัย สิ่งนี้จะประหยัดเงินและเวลาของคุณเป็นอย่างมาก

ประการสุดท้าย เมื่อคุณออกจากประเทศไทย ให้คุณพยายามติดต่อศูนย์ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติที่ตั้งอยู่นอกประเทศที่คุณไป


ที่มา : A Former Refugee Speaks Out on the Lese-Majeste Law 

 

=======

112 WATCH เป็นการรวมตัวของผู้คนและองค์กรที่ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในประเทศไทย โครงการนี้ริเริ่มโดย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ศาสตราจารย์จากศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต เมื่อราวปลายปี 2564 โดยจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรในการทำงานสื่อสารเพื่อหยุดยั้งการใช้มาตรา 112 ผ่านช่องทางหลักคือ 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่