ประชาไท Prachatai.com http://prachatai.com/ th คดีชายฝรั่งเศสวางยาเมีย-ชวนชายอื่นมาข่มขืน สะท้อนวัฒนธรรมการข่มขืนในสังคมปิตาธิปไตย http://prachatai.com/journal/2024/12/111651 <span>คดีชายฝรั่งเศสวางยาเมีย-ชวนชายอื่นมาข่มขืน สะท้อนวัฒนธรรมการข่มขืนในสังคมปิตาธิปไตย</span> <span><span>See Think</span></span> <span><time datetime="2024-12-09T20:38:45+07:00" title="Monday, December 9, 2024 - 20:38">Mon, 2024-12-09 - 20:38</time> </span> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>จากคดีสุดอื้อฉาวที่ โดมินิค เปลิโกต์ วางยาสลบ จีเซล ภรรยาของตัวเอง แล้วให้ผู้ชายอื่น รวมแล้วมากกว่า 50 คนข่มขืนเธอ ซึ่งเหตุที่เกิดช่วงระหว่างปี 2554-2563 อัยการฝรั่งเศสได้เรียกร้องโทษจำคุกสูงสุด 20 ปีสำหรับโดมินิก แต่ในกลุ่มคนที่มีเพศสัมพันธ์กับเธอช่วงสลบนั้นมีบางส่วนที่ปฏิเสธอ้างว่าไม่นับเป็นการข่มขืน มีมุมมองว่าคดีนี้ได้สะท้อนวัฒนธรรมการข่มขืนในสังคมปิตาธิปไตย</p><p>"มันถึงเวลาแล้วที่สังคมแห่งการอวดเบ่งความเป็นชายและเป็นปิตาธิปไตยที่มองข้ามปัญหาการข่มขืนจะต้องเปลี่ยนแปลง" จีเซล เปลิโกต์ กล่าวในการคำแถลงต่อคดีที่มีการฟ้องร้องเอาผิดสามีของเธอและชายอีกมากกว่า 50 คน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการข่มขืนเธอในตอนหมดสติ เธอประกาศในศาลอีกว่ามันถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงมุมมองเรื่องการข่มขืน</p><p>จีเซล เป็นหญิงชาวฝรั่งเศสที่เผชิญกับการถูกวางยาสลบโดยสามีของเธอเองชื่อ โดมินิค เปลิโกต์ แล้วสามีของเธอก็เชิญให้ชายคนอื่นมามีเพศสัมพันธ์กับเธอโดยที่เธอไม่รู้สึกตัว ซึ่งเธอนับว่าเป็นการข่มขืนและล่วงละเมิดทางเพศโดยจากสามีของเธอเองและจากชายอื่น</p><p>การฟ้องร้องคดีนี้ ทำให้จีเซลกลายเป็นไอคอนนักสตรีนิยมผู้ที่ต่อสู้เพื่อต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศ เธอยืนยันให้มีการเปิดดำเนินคดีแบบสาธารณะ โดยบอกว่าเพื่อต้องการสร้างความตระหนักรับรู้ในสังคมเกี่ยวกับการวางยาและการล่วงละเมิดทางเพศ ในขณะที่มีการพิจารณาคดี ฝ่าย โดมินิค สามีของเธอที่ตอนนี้กลายเป็นอดีตสามี กับชายคนอื่นๆ ที่ร่วมก่อเหตุได้ยืนอยู่ในคอกจำเลยที่ศาลเมืองอาวีญง เมืองทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ซึ่งจีเซลบอกว่าเป็นเสมือนการดำเนินคดีกับ "พวกขี้ขลาดตาขาว" ที่มีส่วนร่วมในการข่มขืนเธอ</p><p>ชอ ชาบุด อัยการรัฐของฝรั่งเศสเรียกร้องให้มีการลงโทษ โดมินิค ให้ต้องโทษจำคุกหนักสุด 20 ปี โดยบอกว่ามันจะเป็นโทษจำคุกที่ยาวนาน แต่จะ "ไม่ยาวนานเกินไปเมื่อเทียบกับความร้ายแรงของการกระทำเช่นนี้"</p><p>"มีตัวอย่างจำนวนมากในประวัติศาสตร์ที่อาชญากรสามารถแสดงตัวให้ดูมีภาพลักษณ์ดี แต่ขณะเดียวกันก็เป็นคนที่สามารถกระทำในสิ่งที่เลวร้ายที่สุดได้ แล้ว โดมินิค เปลิโกต์ ก็เข้าข่ายนี้" ชาบุดกล่าว</p><h2>จำเลยหลายคนบอก "ไม่รู้ว่าเป็นการข่มขืน" หรือไม่คิดว่าเป็น</h2><p>ในขณะที่ โดมินิค ให้การยอมรับผิดในทุกข้อหา แต่จำเลยคนอื่นๆ บางส่วนที่ปฏิเสธว่าตอนที่พวกเขาทำไปนั้นไม่รู้ว่ามันคือการข่มขืน จำเลยเหล่านี้มีอายุระหว่าง 21-68 ปี ในช่วงที่พวกเขาก่อเหตุมีเพศสัมพันธ์กับจีเซลตอนที่เธอไม่ได้สติ พวกเขาอ้างว่าในตอนนั้นพวกเขาคิดว่ามันเป็นจินตนาการทางเพศที่เป็นไปอย่างยินยอมพร้อมใจ หรือไม่ก็อ้างว่าในตอนนั้นพวกเขาทำไปโดยขาดสติ</p><p>จำเลยที่ร่วมมือกับโดมินิคอ้างว่าพวกเขาก็เป็นเหยื่อเหมือนกัน โดยบอกว่าพวกเขาทำไปเพราะเข้าใจผิดว่ามันเป็นจินตนาการทางเพศของคู่รักคู่นี้ที่ชอบการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้สติแบบที่คู่สองคนนี้ตกลงกันมาก่อนแล้ว หรือไม่ก็อ้างว่าพวกเขาคิดว่าจีเซลแค่กำลังแกล้งหลับอยู่เท่านั้น</p><p>"ฉันได้เห็นคนที่ยืนกรานปฏิเสธว่าไม่ได้ข่มขืน กับคนที่ยอมรับว่าทำ" จีเซลกล่าว "ฉันอยากจะบอกกับคนเหล่านี้ว่า เมื่อไหร่กันที่นางเปลิโกต์แสดงความยินยอมให้พวกคุณเข้ามาในห้อง เมื่อไหร่กันที่คุณได้รับรู้ร่างที่แน่นิ่งนี้ เมื่อไหร่กันที่คุณไม่ได้รายงานเรื่องนี้กับตำรวจ"</p><p>"เมื่อคุณเดินเข้ามาในห้องนอนแล้วเห็นร่างที่แน่นิ่ง มีตอนไหนกัน ที่คุณตัดสินใจว่าจะไม่มีปฏิกิริยาอะไร" จีเซลกล่าว</p><p>ในชั้นศาลมีหลักฐานเป็นวิดีโอและภาพถ่ายที่ โดมินิค ถ่ายเก็บไว้รวมแล้วราว 20,000 ชุด แสดงให้เห็นจีเซลนอนไร้สติในขณะที่ผู้ชายกระทำชำเราเธอ ในวิดีโอแสดงให้เห็นตัวเธอที่แน่นิ่งไม่เคลื่อนไหว บางครั้งก็กรนด้วย ในเวลาเดียวกับที่ชายที่สามีเธอเชิญเข้ามาหรือบางครั้งก็ตัวสามีเธอเองที่กระทำชำเราเธอในสภาพนั้น</p><p>อัยการ ชาบุด ได้พูดถึงเรื่องที่จำเลยเข้าใจผิดเรื่องความยินยอมพร้อมใจไว้ โดยบอกว่า ในยุคปัจจุบันคุณไม่สามารถอ้างว่า "เธอไม่ได้พูดอะไร แสดงว่าเธอสมยอม" เรื่องนั้นเป็นความคิดผิดๆ จากอดีต</p><p>แต่ในปัจจุบันมีการรณรงค์เรื่องการยินยอมพร้อมใจ ว่าจะต้องมาจากการที่อีกฝ่ายที่มี่อายุถึงเกณฑ์บอกยินยอมพร้อมใจด้วยความจริงจังไม่ใช่ทำไปเพราะถูกกดดันจากอำนาจของอีกฝ่ายหรือทำไปโดยไม่ได้สติ และต้องเป็นการบอก Yes หรือยืนยันความต้องการไม่ใช่แค่การไม่ขัดขืน</p><p>อัยการอีกรายหนึ่ง ฌอง-ฟรองชัวส์ มาเยต์ กล่าวถึงกรณีหนึ่งในจำเลยที่กระทำต่อจีเซลว่า ในขณะที่จำเลยรายนี้อ้างว่าตัวเองก็เป็นเหยื่อเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว "เขาก็รู้สึกพึงพอใจกับสถานการณ์ที่แสดงให้เห็นตรงหน้าเขา"</p><p>ชาบุด บอกว่า "จำเลยกำลังพยายามผลักความรับผิดชอบโดยการอ้างว่า จีเซล เปลิโกต์ สมยอม แต่มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมองให้เป็นแบบนั้นในยุคปัจจุบัน คือปี 2567"</p><p>ชาบุด เรียกร้องให้มีการลงโทษ โดมินิค ด้วยโทษสูงสุดคือจำคุก 20 ปี ซึ่งเธอเองก็มองว่ามันยังไม่มากพอ นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้มีการลงโทษจำเลยอื่นๆ ที่ร่วมมือกับโดมินิคเป็นโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี บางรายก็ 17 ปี หรือลดหลั่นมากน้อยตามแต่กรณีไป</p><p>ศาลฝรั่งเศสจะตัดสินลงโทษจำเลยเหล่านี้ในวันที่ 20 ธันวาคม ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะนับเป็น "คดีครั้งประวัติศาสตร์" และถือเป็นหนึ่งในคดีอาชญากรรมที่มืดมนที่สุดของฝรั่งเศส อันเป็นคดีที่สะท้อนให้เห็นปัญหาวัฒนธรรมการข่มขืนที่มาจากสังคมปิตาธิปไตยในฝรั่งเศสด้วย</p><h2>ปัญหาทางกฎหมาย และวัฒนธรรมการข่มขืนจากสังคมปิตาธิปไตย</h2><p>การดำเนินคดีในครั้งนี้ยังจุดชนวนให้มีการเดินขบวนสนับสนุนจีเซล และเกิดการถกเถียงกันในเรื่องที่ว่าประเทศฝรั่งเศสควรจะอัพเดทกฎหมายว่าด้วยการข่มขืนได้แล้วหรือไม่</p><p>เนื่องจากในปัจจุบันฝรั่งเศสยังคงเป็นประเทศที่กฎหมายระบุนิยามการข่มขืนว่าต้องมีลักษณะของการขู่หรือบีบบังคับด้วย ต่างจากในหลายประเทศ เช่น สวีเดน, ไอซ์แลนด์, สเปน และฟินแลนด์ ที่กฎหมายระบุว่าการมีเพศสัมพันธ์ต้องเป็นไปด้วยความยินยอมพร้อมใจเท่านั้นไม่เช่นนั้นจะนับเป็นการข่มขืน</p><p>ในกรณีของ โดมินิค เปลิโกต์ นั้น เขาได้สร้างห้องแช็ตเอาไว้สำหรับให้คนที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของเขาตอนกำลังสลบ ให้มีการเข้ามาร่วมพูดคุยหรือนัดก่อเหตุได้ ซึ่งในปัจจุบันห้องแช็ตตังกล่าวนี้ถูกปิดไปแล้ว</p><p>สื่อ NPR ระบุว่า คดีนี้แสดงให้เห็นว่าห้องแช็ตที่สุมหัวกันของผู้ชาย และการที่ผู้ชายไม่เข้าใจเรื่องการยินยอมพร้อมใจ หรือไม่ชอบเรื่องการยินยอมพร้อมใจล้วนแต่เป็นสิ่งที่ส่งเสริมวัฒนธรรมการขืมขืน สิ่งที่น่ากลัวไม่ใช่แค่การที่โดมินิคจัดการให้มีคนอื่นมาข่มขืนภรรยาของเขาเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่มีคนหลายสิบคนที่พร้อมจะทำเช่นนั้นด้วย</p><p>สถิติปี 2566 ระบุว่าในฝรั่งเศสมีเหยื่อเผชิญความรุนแรงทางเพศ 114,000 ราย และมีอยู่มากกว่า 25,000 รายที่ได้รับรายงานว่าเป็นกรณีการข่มขืน ผู้เชี่ยวชาญบอกว่ากรณีในฝรั่งเศสนั้นมีอยู่จำนวนมากที่กรณีข่มขืนไม่ได้รับรายงานเพราะขาดหลักฐานทางวัตถุ มีอยู่ร้อยละ 80 ที่ไม่ได้ฟ้องร้อง และคนที่ฟ้องร้องร้อยละ 80 ก็ถูกถอนฟ้องไปก่อนที่จะมีการสืบสวน</p><p>สำหรับกรณี โดมินิค นั้นเขาถูกจับกุมเมื่อปี 2563 ในอีกข้อกล่าวหาหนึ่งคือต้องสงสัยว่าทำการถ่ายใต้กระโปรงผู้หญิง แต่ต่อมาตำรวจก็ได้ตรวจค้นบ้านของเขาแล้วพบว่ามีรูปกับวิดีโอที่เขาถ่ายตอนที่ชายอื่นมีอะไรกับภรรยาเขาขณะสลบ ซึ่งโดมินิคยอมรับว่าได้ถ่ายทำและเก็บภาพถ่ายกับวิดีโอเหล่านี้เอาไว้อย่างเป็นระบบ</p><p>ผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงทางเพศบอกว่าการที่กลุ่มจำเลยไม่ยอมรับว่าตัวเองก่อเหตุข่มขืนนั้น สะท้อนให้เห็นว่าการข่มขืนยังเป็นหัวข้อต้องห้ามและมีภาพลักษณ์เหมารวมที่ยังคงติดอยู่ในหัวผู้คนในฝรั่งเศส คือเรื่องที่ว่าการข่มขืนเป็นเรื่องของโจรผู้ร้ายตามที่สาธารณะและไม่ได้เกี่ยวข้องกับคนใกล้ชิดที่กระทำในพื้นที่ส่วนตัว</p><p>มากาลี ลาฟูร์กาเดอ ผู้พิพากษาและเลขาธิการใหญ่ของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฝรั่งเศสผู้ที่ไม่ได้มีส่วนกับคดีนี้บอกว่า วัฒนธรรมกระแสหลักทำให้คนเข้าใจผิดเรื่องการข่มขืน มักจะทำให้คนนึกถึงคนแปลกหน้าผู้ถือมีดขู่มากกว่า แต่ในความเป็นจริงทางสังคมศาสตร์และทางอาชญวิทยาแล้ว การข่มขืนไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย</p><p>ลาฟูร์กาเดอ บอกว่า กรณีข่มขืน 2 ใน 3 เกิดขึ้นในบ้านส่วนตัว และส่วนใหญ่แล้วเป็นกรณีที่เหยื่อรู้จักกับผู้ก่อเหตุ มันอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะต้องยอมรับความจริงที่ว่า เพื่อน, พ่อ หรือพี่น้อง ที่เรารักและมองว่าเป็นคนดีนั้นจะกลายมาเป็นผู้ก่อเหตุข่มขืนได้ คดีของเปลิโกต์จึงแตกต่างกับขบวนการ #MeToo ของพวกดาราในแง่ที่ว่า "มันทำให้เราเข้าใจว่าคนก่อเหตุข่มขืนอาจจะเป็นใครก็ได้"</p><p>"ในครั้งนี้ พวกนั้นไม่ใช่สัตว์ประหลาด ไม่ได้เป็นฆาตกรต่อเนื่องที่อยู่ชายขอบของสังคม พวกเขาเป็นผู้ชายที่ดูเหมือนคนที่พวกเรารัก" เปลิโกต์กล่าว</p><p><strong><u>เรียบเรียงจาก</u></strong><br>&nbsp;</p><ul><li>Prosecutor requests 20-year sentence for Dominique Pelicot in mass rape trial, CNN, 25-11-2024</li></ul><p><a href="Mass trial shines a light on rape culture in France, France 24, 23-10-2024">Mass trial shines a light on rape culture in France, France 24, 23-10-2024</a></p><ul><li>French prosecutors seek 20 years for Dominique Pelicot in mass rape case, Aljazeera, 26-11-2024</li></ul><p><a href="https://www.aljazeera.com/news/2024/11/26/french-prosecutors-seek-maximum-20-year-sentence-for-man-in-mass-rape-case">https://www.aljazeera.com/news/2024/11/26/french-prosecutors-seek-maximum-20-year-sentence-for-man-in-mass-rape-case</a></p><ul><li>French prosecutors seek up to 15-year terms for co-defendants in Pelicot mass rape trial, France 24, 26-11-2024</li></ul><p><a href="https://www.france24.com/en/live-news/20241126-prosecutors-seek-up-to-12-year-terms-for-french-rape-trial-defendants">https://www.france24.com/en/live-news/20241126-prosecutors-seek-up-to-12-year-terms-for-french-rape-trial-defendants</a></p><ul><li>Gisèle Pelicot says 'macho, patriarchal' society must change attitude on rape, Le Monde, 19-11-2024</li></ul><p><a href="https://www.lemonde.fr/en/france/article/2024/11/19/gisele-pelicot-says-macho-society-must-change-attitude-on-rape_6733320_7.html">https://www.lemonde.fr/en/france/article/2024/11/19/gisele-pelicot-says-macho-society-must-change-attitude-on-rape_6733320_7.html</a></p><ul><li>Gisèle Pelicot slams 'macho' society that 'trivialises rape' in closing statement, France 24, 19-11-2024</li></ul><p><a href="https://www.france24.com/en/france/20241119-gis%C3%A8le-pelicot-slams-macho-society-that-trivialises-rape-in-closing-statement-of-rape-trial">https://www.france24.com/en/france/20241119-gis%C3%A8le-pelicot-slams-macho-society-that-trivialises-rape-in-closing-statement-of-rape-trial</a></p><ul><li>Mass trial shines a light on rape culture in France, France 24, 23-10-2024</li></ul><p><a href="https://www.npr.org/2024/10/23/nx-s1-5162340/rape-france-wife-pelicot">https://www.npr.org/2024/10/23/nx-s1-5162340/rape-france-wife-pelicot</a></p><p><em><strong>ข้อมูลเพิ่มเติมจาก</strong></em><br>More about Let’s Talk About Yes, Amnesty International, 14-02-2020</p><p><a href="https://www.amnesty.org/en/latest/campaigns/2020/02/more-about-lets-talk-about-yes/">https://www.amnesty.org/en/latest/campaigns/2020/02/more-about-lets-talk-about-yes/</a></p><p><a href="https://en.wikipedia.org/wiki/Sexual_consent_in_law">https://en.wikipedia.org/wiki/Sexual_consent_in_law</a></p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศษ</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคม</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">วัฒนธรรม</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชน</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิต</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทศ</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1" hreflang="th">สตรีนิยม</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B8%99" hreflang="th">การข่มขืน</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8" hreflang="th">การล่วงละเมิดทางเพศ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%8C" hreflang="th">จีเซล เปลิโกต์</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%8C" hreflang="th">โดมินิค เปลิโกต์</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B8%99" hreflang="th">วัฒนธรรมการข่มขืน</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2" hreflang="th">ปิตาธิปไตย</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">การมีเพศสัมพันธ์ตอนไม่ได้สติ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%AA" hreflang="th">ฝรั่งเศส</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> Mon, 09 Dec 2024 13:38:45 +0000 See Think 111651 at http://prachatai.com http://prachatai.com/journal/2024/12/111651#comments ‘ไอดา อรุณวงศ์’ เบื้องหลังยัง(ต้อง)ไปต่อ กองทุนราษฎรประสงค์ในวันกระแสต่ำ http://prachatai.com/journal/2024/12/111650 <span>‘ไอดา อรุณวงศ์’ เบื้องหลังยัง(ต้อง)ไปต่อ กองทุนราษฎรประสงค์ในวันกระแสต่ำ </span> <span><span>See Think</span></span> <span><time datetime="2024-12-09T19:04:29+07:00" title="Monday, December 9, 2024 - 19:04">Mon, 2024-12-09 - 19:04</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>สัมภาษณ์: ศิชา รุ่งโรจน์ธนกุล</p><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์</p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>การชุมนุมบนท้องถนนของกลุ่มคนรุ่นใหม่ผ่านพ้นไปแล้ว 4 ปี แต่แกนนำและคนเล็กคนน้อยจำนวนมากยังคงเผชิญคดีทางการเมือง อย่างน้อย 33 รายถูกคุมขังในเรือนจำ บางส่วนเลือกลี้ภัยออกนอกประเทศ รวมทั้งยังมีคนอีกมากที่อยู่ในช่วงสะท้อนย้อนมอง รักษาเยียวยาจิตใจตนเอง</p><p>สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ถือว่าไม่ได้ร้อนแรงเป็นกระแสเหมือนเดิม ไทยผ่านการเลือกตั้งมาแล้วปีกว่าและก็มีรัฐบาลพลเรือน แต่ผลสืบเนื่องจากม็อบปี 2563 และบรรยากาศของความขัดแย้งทางความคิดยังคงอยู่ ‘กองทุนราษฎรประสงค์’ ยังคงมีบทบาททำงานช่วยเหลือผู้ต้องขังและครอบครัว รวมถึงจำเลยในคดีทางการเมือง</p><p>เมื่อไม่มีการระดมทุนแล้ว เมื่อมีผู้ลี้ภัยหน้าใหม่เพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้เงินประกันถูกริบ เมื่อมีการแบ่งขั้วแบ่งข้างกันของส้ม-แดงอย่างชัดเจนมากขึ้นชนิดที่หวนกลับไปสู่จุดเดิมไม่ได้แล้ว ในบริบทแบบนี้ บทบาทขององค์กรซึ่งเคยเป็นดั่งกองกลางเชื่อมแนวหน้ากับแนวหลังในการเคลื่อนไหวนั้นเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง&nbsp;ประชาไทสัมภาษณ์ ไอดา อรุณวงศ์ ทางอีเมล</p><h6><strong>เมื่อกระแสม็อบเงียบลงไปแล้ว การทำงานกองทุนในช่วงปี 2566 จนถึงตอนนี้มีความแตกต่างจากเดิมหรือไม่ การระดมทุนในช่วงที่ผ่านมายากหรือง่ายขึ้นอย่างไร</strong></h6><p>เปลี่ยนไปพอสมควร มีคดีซึ่งต้องไปรอประกันในลักษณะฉุกเฉินกะทันหันทั้งคืนทั้งวันน้อยลง แต่ยังคงมีการยื่นประกันรายวันสำหรับคดีต่างๆ ที่ทยอยมีคำพิพากษาแล้วกองทุนต้องประกันในชั้นต่อไป รวมทั้งมีคดีประเภทที่อัยการเพิ่งขุดมาฟ้องเมื่อใกล้หมดอายุความ คดีเหล่านี้เราพอทราบกำหนดล่วงหน้า ทำให้จัดสรรได้ทันทั้งเงินและนายประกัน</p><p>งานอีกส่วนที่เพิ่มขึ้นมาคืองานช่วยเหลือผู้ต้องขังและครอบครัว กับการดูแลค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ไปตามนัดคดีต่างๆ ซึ่งมีจำนวนมากยิบย่อยทุกวัน เป็นงานหลังบ้านก้อนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นมาในน้ำหนักที่เท่าๆ กันกับงานประกันทั้งในแง่การลงแรงและเวลา</p><p>ส่วนการระดมทุน เราไม่ระดมแล้ว เนื่องจากเงินในบัญชีมีเพียงพอ ทั้งยังมีเงินที่ค้างอยู่ในศาลอีก เราแค่ต้องบริหารให้ดี ให้รัดกุมและทั่วถึง&nbsp;โดยมีเป้าหมายคือจ่ายให้หมดไปมากกว่าจะหาเพิ่มเข้ามาใหม่ เพราะกองทุนฯ นี้เกิดขึ้นมาในฐานะภารกิจจำเป็นเฉพาะหน้า และจะอยู่เท่าที่ภารกิจจบเท่านั้น เราไม่ใช่องค์กรอาชีพที่จะต้องระดมทุนชั่วกัลป์เพื่อหาเลี้ยงตัว ตอนนี้เงินบริจาคที่ยังคงมีเข้ามาบ้างรายวันเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของความมีน้ำใจนึกถึงกันจากผู้บริจาคมากกว่า</p><h6><strong>ตั้งแต่ในช่วงปี 2566 จนถึงตอนนี้ เราเห็นว่ามีผู้ลี้ภัยหน้าใหม่ทยอยผุดเพิ่มขึ้นมา เรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของกองทุนขนาดไหน ทั้งในมุมการหมุนเงินที่ถูกยึดไปและตัวของผู้ทำงานเอง</strong></h6><p>ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่งผลกระทบโดยตรง เพราะเราคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียลำดับแรก เนื่องจากเราไปทำสัญญาประกันไว้กับศาล เมื่อมีการผิดสัญญา เราก็ต้องก้มหน้ายอมรับการถูกริบ ในกติกานี้นายประกันไม่มีหน้าที่หรือทางเลือกอื่นใดนอกจากรักษาคำสัญญา ส่วนเงินเมื่อถูกริบไปก็ย่อมทำให้มีเงินหมุนกลับมาในระบบเพื่อช่วยเหลือคนอื่นต่อไปน้อยลง และการผิดสัญญามากเข้าก็อาจเป็นเหตุให้ถูกลดทอนความน่าเชื่อถือในการช่วยเหลือคนอื่นต่อไป นี่คือผลกระทบตรงๆ ตามเนื้อผ้า แต่เราก็ไม่มีอะไรต้องฟูมฟายไปกว่านั้น เราเป็นคนตัดสินใจก้าวเข้ามาอยู่ภายใต้กติกานี้เองในภาวะฉุกเฉินที่ผ่านมา ด้วยหวังว่าจะช่วยให้ทุกคนได้ใช้สิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เมื่อผิดสัญญาเสียเองแบบนี้ก็คือผิดกติกา</p><p>แต่เราไม่มีอะไรจะตัดสินจำเลยที่หนีไปเหล่านั้น เราเป็นแค่นายประกัน เราไม่ใช่ผู้พิพากษา ไม่เคยมีจำเลยคนใดมาปรึกษาหรือบอกเราว่าทำไมจึงจะหนี เราเหมือนเป็นคนสุดท้ายที่มารู้พร้อมศาลทุกที โดยปริยายเราเข้าใจได้อยู่ว่าทุกคนมีเหตุผล ทุกคนมีปัจจัย และทั้งหมดเป็นความรู้อยู่แก่ใจตัวเองของแต่ละคนว่าตัดสินใจเพราะอะไร มันไม่ใช่เรื่องง่าย และเราไม่มีอะไรจะตัดสินในฐานะปัจเจกมนุษย์ด้วยกัน อย่างน้อยที่สุดไม่ใช่ในลักษณะที่เป็นการเหมารวม</p><p>แต่อย่างมากที่สุด มันทำให้เกิดคำถามในภาพรวมมากกว่า เพราะการลี้ภัยในบริบทนี้ต่างจากการลี้ภัยอย่างเมื่อครั้งหลังรัฐประหาร (22 พฤษภา 2557) ที่การ “ลี้” หรือ หนี คือการต่อต้าน เพราะมันเป็นการปฏิเสธอำนาจหรือกติกาที่ไม่ชอบธรรมแล้วหันหลังให้ตั้งแต่ต้น หรือไม่ก็เป็นการลี้ภัยแบบหนีภัยเถื่อนจริงๆ เพราะมันเป็นการกวาดจับภายใต้เผด็จการทหารชนิดเสี่ยงถูกอุ้มฆ่าอุ้มหาย ไม่มีหลักประกันว่าจะได้ต่อสู้ข้อกล่าวหาในกติกาที่ศิวิไลซ์ ซึ่งต่างจากในปัจจุบันนี้ ที่เป็นการลี้ภัยหลังจากเข้าสู่ “กระบวนการยุติธรรม” เรียบร้อยแล้ว ในศาลพลเรือนด้วย มีองค์กรทนายในนามสิทธิมนุษยชนโพรไฟล์อินเตอร์ที่มีงบมากมายมาจ้างทนายว่าความให้ฟรี และมีเงินที่ราษฎรด้วยกันระดมมาให้เพื่ออิสรภาพในการสู้คดีให้ได้ยันชั้นฎีกา แต่ประชาชนยังต้อง “ลี้ภัย” นั่นหมายความว่าอะไร?</p><p>นักสังคมศาสตร์เขาอาจตั้งคำถามไหมว่า หรือว่ามันจะเป็นเพราะกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับระบบยุติธรรมและวิชาชีพกฎหมาย—ทุกฝ่าย—ทั้งยวง ในคดีเหล่านี้ ไม่อาจเป็นที่พึ่งหวังได้ว่าจะมีปัญญา หรือมีน้ำยา ที่จะทำให้การต่อสู้คดีที่เกิดจากการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองในประเทศนี้ สามารถดำเนินไปได้ภายใต้ชายคาศาลอย่างมีบรรทัดฐานทางวิชาชีพ? หรือกรณีคนที่หนีไปด้วยเหตุผลว่าถูกข่มขู่คุกคาม ก็แปลว่าเขาไม่เชื่อว่ากลไกรักษากฎหมายและปกป้องสิทธิประชาชนทั้งหลาย จะมีน้ำยาพอที่จะช่วยให้เขายังคงความเป็นพลเมืองอยู่ที่นี่ได้ อย่างนั้นหรือเปล่า?</p><p>เช่นกันกับที่นักปรัชญาเขาจะตั้งคำถามไหมว่า หรือว่าสาเหตุมันอาจรวมไปถึงการที่กระทั่งองค์กรนิติบัญญัติก็ไม่มีหนทางที่จะถกปัญหาว่าด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีความเหล่านี้อย่างที่เป็นกฎหมายจริงๆ ได้ เพราะโดยแก่นสารัตถะแล้วมันใช่ที่ไหนล่ะกฎหมาย มันคืออาญาบัญญัติดึกดำบรรพ์ที่ดันเอาคนเข้าคุกในยุคสมัยใหม่ได้ ก็จะให้นิยามมันว่ากฎหมายได้อย่างไรถ้ามันเป็นบัญญัติที่ไม่มีนักนิติบัญญัติคนใดมีสิทธิปรับปรุงแก้ไขได้เลย?</p><p>ในฐานะหน่วยเดียวที่จับพลัดจับผลูเข้ามาในสนามนี้ทั้งที่ไม่ใช่นักวิชาชีพกฎหมาย กองทุนฯ ไม่อาจทราบได้หรอกว่าทำไมจึงเกิดมหกรรม “ลี้” ไปจากกระบวนการยุติธรรมเช่นนี้ และความหมายถ้าจะมีมันคืออะไร ก็ได้แต่โนคอมเมนต์ เพราะนายประกันมีแค่ความรับผิดชอบของตัวที่กองสุมอยู่ตรงหน้า และได้แต่นั่งมองตาปริบๆ ขณะถูกริบเงินประกัน</p><h6><strong>จำเลยที่เหลืออยู่ที่ยังได้รับความช่วยเหลือทางกองทุน มีลักษณะร่วมกัน มีพื้นเพที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง</strong></h6><p>ถ้าโดยส่วนใหญ่ก็เป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในประเทศนี้มา คือเป็นคนธรรมดาที่ไม่ได้มีต้นทุนมากนักทั้งในทางเศรษฐกิจและในทางสังคม แต่ก็มีจำนวนหนึ่งแหละที่เป็นคนที่มีต้นทุนสูง อย่างน้อยก็ในทางชื่อเสียงหรือเครือข่าย แต่ก็เป็นส่วนน้อยมากชนิดนับนิ้วได้ แต่เนื่องจากเวลากองทุนฯ ให้ความช่วยเหลือ เราถือว่าเราช่วยเสมอหน้ากันหมดทุกคนไม่ว่าจะรวยจนหรือเป็นคนมีต้นทุนแค่ไหนยังไง อีกทั้งในปัจจุบัน ฐานะทางชนชั้นก็มีลักษณะเลื่อนไหล ต้นทุนทางสังคมไม่จำเป็นต้องมาพร้อมต้นทุนทางเศรษฐกิจเสมอไป เราจึงไม่เน้นประมวลข้อมูลในกรอบนี้</p><p>แต่ที่เราเคยประมวล เราทดลองใช้เครื่องมือใหม่ๆ เพื่อหากรอบใหม่ในการสรุป ตัวอย่างเช่นใน<a href="https://www.facebook.com/siddhi.issara/posts/pfbid02mDcA3s1LW8aNhHMLNvhahur49hrzArj3oKvMXcAQUxb9vMxrP4pqJ8ebB8ZvsqA1l">รายงานประจำปีของกองทุนฯที่เสนอต่อผู้บริจาค</a> เราวัดฐานะของคนที่ออกมาต่อสู้จากข้อมูลสถิติการวางประกัน แล้วพบว่า ถ้าหากสังคมวัดความ “สำคัญ” หรือความเป็น “แกนนำ” จากจำนวนคดี ข้อมูลสถิติบอกเราว่า&nbsp;เงินประกันของคนมีคดีติดตัวน้อย เมื่อรวมกันเข้า กลับมีน้ำหนักเทียบเท่าเงินประกันของคนมีคดีติดตัวมาก อย่างในปี 2566 คนที่มี 1-2 คดีติดตัว เมื่อรวมกันแล้วยอดเงินประกันสูงถึง 25.77 ล้านบาท หรือร้อยละ 54.6 ของเงินประกันคงค้างในศาลทั้งหมด (ไม่นับที่ถูกริบ) ขณะที่ยอดเงินประกันคนมีคดีติดตัว 3 คดีขึ้นไป ซึ่งอาจเรียกอย่างหยาบๆ ได้ว่า “แกนนำ” นั้น กลับเป็นส่วนน้อย กระทั่งจำเลยที่มีคดี 10 คดีขึ้นไปซึ่งมีอยู่ 6 คนนั้นก็รวมยอดเงินประกันออกมาได้ 8,245,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 17.5 เท่านั้น หรือถ้ามองจากวงเงินประกันต่อคดี คนที่โดนคดีซึ่งมีวงเงินประกันต่ำ เมื่อรวมกันเข้า ก็สูงมากเท่าๆ กับคนที่โดนคดีซึ่งมีวงเงินประกันสูง เช่น คนที่โดนคดีวงเงินประกันต่ำกว่า 40,000 บาท ในปี 2566 เมื่อรวมกันก็ได้ 4,203,500 บาท เท่าๆ กับยอดของคนที่โดนคดีในวงเงินประกัน 100,000-199,999 บาท ที่มียอดรวมอยู่ที่ 4,180,000 บาทพอดี</p><p>มันบอกเราว่า ในการออกมาต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพ เพื่อความเปลี่ยนแปลง ไม่มีใครสำคัญกว่าใคร และคนธรรมดาที่โดนคดีอาญาอย่างสามัญ ยังคงเป็นคนส่วนใหญ่ของการต่อสู้ในประเทศนี้ และพวกเขาคือส่วนใหญ่ของคนที่อยู่ที่นี่ ซึ่งอาจเป็นการอยู่เพราะมีหรือไม่มีทางเลือกก็ได้ แต่ตราบเท่าที่ยังคงมีพวกเขายังอยู่ที่นี่ กองทุนฯ ก็จะยังอยู่ตรงนี้กับพวกเขา</p><h6><strong>มักมีเสียงวิจารณ์จากชาวเน็ตที่ว่า “ผู้ลี้ภัยทำให้เงินกองทุนหาย” ในมุมคนทำงานกองทุนมองเรื่องนี้อย่างไร</strong></h6><p>ถ้าตอบตามเนื้อผ้า ผู้ลี้ภัยย่อมทำให้เงินกองทุนหายอยู่แล้วเพราะทำให้เงินถูกริบ แต่ถ้าจะถามกันต่อว่าทำไมผู้ลี้ภัยจึงต้องลี้ภัยให้เงินกองทุนหาย ก็อาจจะมีมิติให้ตอบได้มากกว่า แต่อย่างที่บอกไปแล้วว่า จากสถิติความเท่าเทียมในความไม่เท่ากันของเงินประกัน ต่อให้เงินประกันแกนนำหรือคนที่โดนคดีวงเงินสูงอย่าง 112 ไม่ได้กลับมาสู่กองทุนฯ แม้แต่บาทเดียว ก็จะยังเหลือเงินบริจาคเกินครึ่งที่กองทุนฯ สามารถนำมาหมุนให้จำเลยและผู้ต้องขังที่ยังคงอยู่ที่นี่ได้ต่อไป</p><h6><strong>ความเห็นทำนองว่า “ถ้าแบกพรรค...ก็ไปให้พรรค...ช่วยสิ ไม่ต้องมาใช้เงินกองทุน” ในบริบทที่ว่าพอมีการแบ่งข้างส้ม-แดงชัดเจนหลังการตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว เราจะเห็นว่ามูฟเมนต์หลายๆ อย่างก็อาจจะถูกมองแบบเหมารวมว่าเป็นของกลุ่มไหน จึงอยากรู้ว่าบรรยากาศของส้ม-แดงที่ซัดกันนัวแบบนี้กระทบการทำงานของกองทุนบ้างหรือเปล่า</strong></h6><p>กระทบอยู่บ้างถ้าเรานับว่าดรามาต่างๆ มีส่วนก่อความเสียหายในทางชื่อเสียงแก่กองทุนฯ เช่นทำให้เข้าใจผิดว่ากองทุนสนับสนุนพรรคใด หรือมีการนำชื่อกองทุนฯ ไปพ่วงหาประโยชน์ แต่เนื่องจากเรายังคงตอบตัวเองได้ทุกวันว่าเราทำอะไร และเราก็ชี้แจงให้เห็นอยู่ทุกสัปดาห์ว่าเราทำอะไร ไม่เคยมีท่าทีทั้งสิ้นว่าสนับสนุนพรรคไหน เราจึงตัดใจว่า สำหรับคนที่อยากรู้ความจริง เขาย่อมเห็นการทำงานเป็นข้อพิสูจน์ได้ เราจะไม่เสียเวลาไปร่วมวงดรามา เราไม่มีเวลา</p><p>นอกจากไม่เคยสนับสนุน กองทุนฯ ยังแจ้งนโยบายต่อผู้เกี่ยวข้องไว้ด้วยว่า กองทุนฯ ขอขีดเส้นเด็ดขาด ไม่อนุญาตให้มีการนำชื่อไปใช้ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายไม่ว่ากับพรรคใด เพราะมันไม่แฟร์กับผู้บริจาคที่มากันร้อยพ่อพันแม่ การสนับสนุนพรรคการเมืองเป็นสิทธิเฉพาะคน องค์กรสาธารณะไม่มีสิทธิอ้างแทนใคร และการสนับสนุนพรรคการเมืองก็เป็นเรื่องที่เปลี่ยนไปมาได้ตลอดเวลาเพราะพรรคการเมืองทุกพรรคล้วนเปลี่ยนไปมาได้ตลอดเวลาเช่นกันเนื่องจากธรรมชาติของการเข้าสู่อำนาจในระบบพรรคการเมืองย่อมเป็นเช่นนั้น เขาไม่ใช่ศาสดา! เขาเป็นอนัตตา! กระทั่ง<br>ผู้บริจาคเอง วันนี้สนับสนุนพรรคหนึ่ง วันหน้าอาจสนับสนุนอีกพรรคก็ได้ กองทุนจึงไม่มีความเห็นใดต่อความเห็นที่โต้ตอบกันไปมาในโซเชียลมีเดีย ที่ไม่รู้ว่าบรรดา “ความเห็น” ที่ว่านั้นเกิดขึ้นเองหรือมาจากการจัดตั้งแค่ไหนยังไง</p><p>เราแน่ใจอยู่แค่ว่า ในวันที่เริ่มต้นทำกองทุนฯ เราเริ่มมาจากศูนย์ ไม่เคยมีพรรคการเมือง ไม่ว่าพรรคใด อยู่ในหัวหรืออยู่ตรงหน้า ทำมาเองโดยลำพังประสาราษฎรได้โดยไม่ต้องมี “ผู้แทน” ใด และกองทุนฯ ขอยืนยันที่จะรักษาสปิริตนั้นไว้ต่อไป—ในฐานะราษฎร</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li><a href="https://prachatai.com/journal/2024/06/109527">‘แบมบู ภัคภิญญา’ อดีตบรรณารักษ์ เหยื่อ ม.112 สู่ผู้ลี้ภัยในออสเตรเลีย</a></li><li><a href="https://prachatai.com/journal/2024/07/109788">ชีวิตที่ต้องลี้ภัยของ ‘โตโต้ ธนกร’ ผู้ร่วมคาร์ม็อบที่ติดผ้าพันคอจิตอาสาไว้หน้ารถ</a></li><li><a href="https://prachatai.com/journal/2024/07/109864">ชีวิตที่ยังไร้สถานะของ ‘เรเน่’ หญิงข้ามเพศที่ต้องลี้ภัยแค่จากโพสต์ไวรัลของตัวเอง</a></li><li><a href="https://prachatai.com/journal/2024/09/110720">นางรำผู้ไม่มีที่ยืนในเมืองไทย ชีวิตลี้ภัยของ ‘มิ้นท์ นาดสินปฏิวัติ’</a></li><li><a href="https://prachatai.com/journal/2024/10/110988">ชีวิตของ ‘พลอย’ ผู้ลี้ภัยอายุน้อยที่สุด</a></li></ul></div></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สัมภาษณ์</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชน</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C" hreflang="th">กองทุนราษฎรประสงค์</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">ผู้ลี้ภัยทางการเมือง</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">คดีทางการเมือง</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B2-%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C" hreflang="th">ไอดา อรุณวงศ์</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> Mon, 09 Dec 2024 12:04:29 +0000 See Think 111650 at http://prachatai.com http://prachatai.com/journal/2024/12/111650#comments ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (2) โรคสัตว์ข้ามพรมแดน ภัยเงียบที่มากับวัวเถื่อน http://prachatai.com/journal/2024/12/111642 <span>ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (2) โรคสัตว์ข้ามพรมแดน ภัยเงียบที่มากับวัวเถื่อน</span> <span><span>user8</span></span> <span><time datetime="2024-12-09T00:54:47+07:00" title="Monday, December 9, 2024 - 00:54">Mon, 2024-12-09 - 00:54</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>กรรณิกา เพชรแก้ว รายงาน</p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>เมื่อรัฐบาลไทยมีแนวคิดนำเข้าวัวจากพม่าอย่างเป็นทางการ ก่อให้เกิดแรงต้านจากเกตรกรผู้เลี้ยงวัวชาวไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นเพราะทุกคนรับรู้ว่าพม่าเป็นพื้นที่ระบาดของโรคสำคัญอย่างโรคปากและเท้าเปื่อย และมีความเสี่ยงส่งออกโรคข้ามพรมแดนมาสู่ไทย</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54186392486_6386227c1f_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ที่มา: ณัฐกิตติ์ มีสกุล</p><p><a href="https://prachatai.com/journal/2024/12/111565">จากตอนที่แล้ว</a> เมื่อรัฐบาลไทยมีแนวคิดนำเข้าวัวจากพม่าอย่างเป็นทางการ ก่อให้เกิดแรงต้านจากเกตรกรผู้เลี้ยงวัวชาวไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้</p><p>นั่นเพราะทุกคนรับรู้ว่าสหภาพแห่งสาธารณรัฐเมียนมาหรือพม่า ยังเป็นพื้นที่ระบาดของโรคสำคัญอย่างโรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease หรือ FMD) และมีความเสี่ยงส่งออกโรคข้ามพรมแดนมาสู่ไทย</p><p>ทั้งยังมีระบบการตรวจตราและควบคุมโรควัวหละหลวม โดยเฉพาะหลังเกิดรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าทุ่มทรัพยากรทำสงครามกับประชาชนและกลุ่มชาติพันธุ์ จนปัญหาด้านสังคมและสุขภาพไม่ได้รับการเหลียวแล</p><p>นายสัตวแพทย์เทิดศักดิ์ ญาโณ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นนักวิจัยด้านสุขภาพสัตว์ และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหนึ่งเดียว <a href="https://www.who.int/health-topics/one-health#tab=tab_1">(One Health)</a> ที่มีประสบการณ์การทำงานในเมียนมาระบุว่าที่นั่นระบบการเลี้ยงวัวและการให้วัคซีนยังมีช่องโหว่มาก จนอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่เชื้อโรคจะแพร่กระจายข้ามประเทศ หากไม่มีการกักกันและเฝ้าระวังที่เข้มข้น</p><p>“เชื้อโรคที่แพร่มาสู่คน 70% แพร่มาจากสัตว์ หรือมีสัตว์เป็นพาหะ” น.สพ.เทิดศักดิ์ให้ความเห็น “เพราะเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายได้ง่ายกว่าสัตว์ที่ชำแหละแล้ว น้ำลายหรือลมหายใจกระจายเชื้อได้ทันที”&nbsp;</p><p>วัวอาจมีโรคในตัวโดยไม่แสดงอาการ ซึ่ง น.สพ.เทิดศักดิ์ เห็นว่าเป็นจุดอ่อนที่ทำให้โรคเดินทางข้ามพรมแดนมาไทยได้&nbsp;</p><p>“สำหรับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ การที่วัวไม่แสดงอาการหมายถึงไม่มีโรค พร้อมจะอนุญาตให้เคลื่อนย้ายได้ แต่ในความเป็นจริงวัวอาจแสดงอาการของโรคระหว่างการเคลื่อนย้าย วัวเครียด เหนื่อย และต้องอดน้ำอดอาหารระหว่างการขนส่งที่อาจยาวนาน 10 ชั่วโมง ภูมิคุ้มกันจะลดลงและแสดงอาการตลอดจนแพร่เชื้อได้ระหว่างทาง ผ่านระบบทางเดินทางหายใจหรือของเสียที่ปล่อยออกมา”</p><p>ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา น.สพ. โท มิน ทุน (Toe Min Tun) รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ของของเมียนมา รายงานต่อที่ประชุมคณะทำงานป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และการจัดการเคลื่อนย้ายสัตว์มีชีวิตในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนบนครั้งที่ 15&nbsp;</p><p>ระบุว่า เมียนมามีวัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อยในวัวและกระบือปีละ 300,000 โดส และมีแผนก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนขนาดใหญ่ เพื่อผลิตให้ได้ปีละ 1 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้ ภายใต้การสนับสนุนขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น</p><p>อย่างไรก็ดี การตรวจสอบล่าสุดกับแหล่งข่าวพบว่าโครงการนี้ยังไม่สามารถดำเนินการตามที่ระบุได้ สืบเนื่องจากสงครามภายในประเทศที่รุนแรงยิ่งขึ้น ขณะที่เมียนมามีวัวมากถึง 10 ล้านตัว สะท้อนว่าแม้โรงงานผลิตวัคซีนจะสร้างได้จริง แต่ก็อาจไม่เพียงพอกับความต้องการ</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54185504662_3f6cc087e8_h.jpg" width="1600" height="1200" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ที่มา: DVB</p><p>แม้ว่ารัฐบาลไทยจะยังปิดชายแดนเพื่อสกัดโรคจากวัวจากเมียนมาจนถึงวันนี้ เกษตรกรและผู้ค้าวัวให้ข้อมูลว่ายังมีการลักลอบนำเข้าวัวเมียนมาสู่ไทยโดยไม่แผ่วลง เสมือนว่ายิ่งปิดชายแดน ยิ่งเพิ่มแรงจูงใจในการลักลอบนำเข้า</p><h2>เปลี่ยนวัวพม่าเป็นวัวไทย</h2><p>การลักลอบนำเข้าวัวเกิดขึ้นตลอดแนวชายไทยและเมียนมา ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นภูเขาและป่าสลับซับซ้อน โดยเฉพาะจุดที่ไม่มีการเฝ้าระวังชายแดน ช่องทางธรรมชาติ และจุดที่ไม่มีการสู้รบในฝั่งเมียนมา โดยมีจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง เป็นทางผ่านหลัก ก่อนที่จะนำวัวไปส่งยังจังหวัดอื่นๆ</p><p>ศรีนวล สุนทร เกษตรกรเลี้ยงวัว อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่า มีวัวจากเมียนมาเข้ามาถึงพื้นที่ตนต่อเนื่อง แม้หลังรัฐบาลไทยประกาศชะลอการนำเข้าวัวจากประเทศเพื่อนบ้าน &nbsp;</p><p>ส่วนใหญ่มีคนพาวัวลักลอบเข้ามาในเวลากลางคืน หรือวันหยุดราชการ โดยจูงวัวเข้ามากลุ่มละไม่เกิน 20 ตัว และถูกขายต่อให้นายหน้าหรือเกษตรกรในไทย เพื่อนำไปเลี้ยงชั่วคราว ก่อนนำไปขายในตลาดนัดวัวท้องถิ่น</p><p>“สังเกตได้ง่ายวัวพวกนี้จะเล็กและผอมกว่าวัวที่เลี้ยงในบ้านเรา และขายในราคาถูกมาก เช่น วัวขนาดปานกลางน้ำหนักประมาณ 200 กิโลกรัม จะขายที่ตัวละ 5,000-7,000 บาทเท่านั้น ขณะที่วัวบ้านเราขายตัวละเกือบ 20,000 บาท” ศรีนวลกล่าว</p><p>“พ่อค้าจะซื้อวัวเหล่านี้ไปขุน และขายแก่โรงเชือดในพื้นที่ ถ้าเป็นวัวส่งออก เขาจะเลือกวัวที่ลักษณะดี สมบูรณ์ ไม่ต้องเอาไปขุนต่อ วัวที่ลักลอบนำเข้าจึงไม่ค่อยถูกเลือก จะปะปนอยู่กับวัวแถวชายแดน”</p><p>อย่างไรก็ดี มีพ่อค้าวัวระบุว่า วัวจากเมียนมาจำนวนหนึ่งก็ถูกขุนในไทย เพื่อส่งออกสู่จีนผ่านไทยและลาวเช่นกัน&nbsp;<br>ข้อมูลจากศรีนวลสอดคล้องกับรายงานของผู้สื่อข่าวในเมียนมาภายใต้ความร่วมมือทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนชิ้นนี้ ซึ่งระบุว่าการลักลอบนำวัวข้ามพรมแดนมาไทยมีต่อเนื่อง</p><p>หนึ่งในพ่อค้าในเมียนมาเล่าว่า วัวถูกจูงข้ามพรมแดนเป็นฝูง ทีละ 10-20 ตัว โดยหลีกเลี่ยงการนำเข้าฝูงใหญ่ เผื่อถูกจัมกุมและวัวถูกยึด ความสูญเสียจะได้อยู่ในวงจำกัด</p><p>ขณะที่ยังพบการพาวัวข้ามพรมแดนคืนละ 10-15 ตัว ณ จุดข้ามแดนแห่งหนึ่งใน จ.ตาก สะท้อนว่าการลักลอบนำวัวเข้าเขตไทยในจุดนี้จุดเดียวอาจมีจำนวนหลายพันตัวต่อปี</p><p>การรวบรวมข่าวสารของทีมงานพบว่า มีรายงานข่าวจับวัวเถื่อนในไทยประมาณ 23 ครั้งในระหว่างปี 2565 ถึงกลางปี 2566 รวมจำนวนวัวของกลาง 1,182 ตัว อย่างไรก็ดี ตัวเลขนี้สะท้อนเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาการลักลอบนำเข้าวัวเถื่อนจากเมียนมา</p><p class="text-align-center"><iframe style="border-style:none;min-width:100% !important;width:0;" title="News reports of smuggling live cattle" aria-label="Map" id="datawrapper-chart-xVZEe" src="https://datawrapper.dwcdn.net/xVZEe/1/" scrolling="no" frameborder="0" height="610" data-external="1"></iframe><script type="text/javascript">!function(){"use strict";window.addEventListener("message",(function(a){if(void 0!==a.data["datawrapper-height"]){var e=document.querySelectorAll("iframe");for(var t in a.data["datawrapper-height"])for(var r=0;r&amp;amp;amp;amp;amp;lt;e.length;r++)if(e[r].contentWindow===a.source){var i=a.data["datawrapper-height"][t]+"px";e[r].style.height=i}}}))}();</script></p><p>หลังจากข้ามพรมแดนเข้ามาในไทยแล้ว ผู้ซื้อจะนำวัวเถื่อนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ ยืนยันว่าเป็นวัวที่ถูกต้อง แต่ลืมแจ้งขึ้นทะเบียนตามเวลาที่กำหนด หากไม่พบข้อพิรุธเจ้าหน้าที่จะขึ้นทะเบียนและออกใบรับรองให้ ทำให้วัวพม่ากลายเป็นวัวไทยโดยสมบูรณ์</p><p>“เมื่อเข้าสูู่ระบบของเรา ได้รับวัคซีนได้รับอนุญาตให้เคลื่อนย้าย และเมื่อย้ายเข้าไปยังจังหวัดชั้นในที่ไม่ใช่จังหวัดชายแดน ก็ขอออกเบอร์หูได้ จากนั้นจะไปไหนก็ไปได้หมด” เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวรายหนึ่งใน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ให้ข้อมูล</p><p>กระบวนการเปลี่ยนวัวพม่าเป็นวัวไทยเคยถูกพูดถึงในสภา โดยนายคริษฐ์ ปานเนียม สส.ตาก อดีตพรรคก้าวไกล เคย<a href="https://t.dailynews.co.th/news/3318163/">อภิปราย</a>ตั้งข้อสังเกตถึงกรณีที่พบวัวเถื่อนหลายตัวในโครงการโคบาลชายแดนใต้ ใช้ชื่อเดียวกันคือ “บัวทอง” โดยน่าจะลงทะเบียนโดยสวมสิทธิเอกสารจากวัวชื่อดังกล่าว&nbsp;</p><p>เชื่อว่าวัวเถื่อนเหล่านี้ขนย้ายมาจาก จ.ตาก แต่กลับผ่านด่านตรวจได้ถึง 5 ด่านจนถึง จ.นครสวรรค์ ก่อนที่จะนำไปยังภาคใต้ จึงน่าจะมีการทุจริตเกี่ยวข้อง</p><p>ขณะที่นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ <a href="https://www.matichon.co.th/politics/news_4382378">เคยให้สัมภาษณ์</a>เมื่อต้นปีที่ผ่านมาว่ามี “คนสีเทาและสีดำ” ที่ทำให้การลักลอบนำวัวเถื่อนเข้าไทยยังคงเป็นปัญหา ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรไทยและราคาวัวตกต่ำ</p><p>เมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา &nbsp;ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพบูลย์ ใจเด็ด อุปนายกสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย ระบุเส้นทางพาวัวเถื่อนจากเมียนมาเข้าไทย ในระหว่างการเสวนาทางวิชาการ <a href="https://youtu.be/huLoDjwPc4A?si=JS5no6-GydPNOlOF">“โคเนื้อไทย...จะไปรอดได้อย่างไร?”&nbsp;</a></p><p>แต่เมื่อผู้สื่อข่าวติดต่อไพบูลย์เพื่อขอสัมภาษณ์เพิ่มเติม เขาระบุว่าถูกข่มขู่หลังเปิดเผยเรื่องดังกล่าว และไม่ขอให้ข้อมูลใดๆ</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54186832370_14a4652eda_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">เส้นทางค้าวัว รวบรวมจากเอกสารและการสัมภาษณ์แหล่งข่าว ที่มา: กราฟฟิกโดย Mekong Eye</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li><a href="https://prachatai.com/journal/2024/12/111565">ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (1) ความเสี่ยงสุขภาพที่ต้องแลกเพราะการควบคุมโรคยังไม่รัดกุม</a></li><li><a href="https://prachatai.com/journal/2024/12/111642">ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (2) โรคสัตว์ข้ามพรมแดน ภัยเงียบที่มากับวัวเถื่อน</a></li></ul></div><p>&nbsp;</p><h2>สารพัดโรควัวข้ามพรมแดนในไทย</h2><p>เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ไทย ซึ่งทำงานในอำเภอที่มีพรมแดนติดต่อกับรัฐกะเหรี่ยงเล่าว่า เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจัดการวัวเถื่อนได้ทั้งหมด เพราะชายแดนทอดยาวหลายสิบกิโลเมตร ขณะที่เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอมีไม่ถึง 10 คน</p><p>“สิ่งที่เราพอทำได้คือเมื่อทราบว่ามีวัวแปลกๆ เข้ามา เราก็ไปฉีดวัคซีนตรวจโรคให้ อย่างน้อยก็เพื่อไม่ให้มีปัญหากับวัวของเรา แต่ถ้าไม่มีใครแจ้งเข้ามา ก็เกินกว่าที่เราจะทำอะไรได้”</p><p>เมื่อสัตว์ยังเคลื่อนย้ายภายใต้มาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคข้ามพรมแดนที่ขาดประสิทธิภาพ ผลลัพธ์คือโรควัวในไทยที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะถูกกำจัดให้หมดสิ้น</p><p>รายงานของสำนักสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ระบุว่า ไทยพบโรคปากและเท้าเปื่อยในวัวและกระบือ 53 ตัว ในปี 2566 ถือว่าเป็นจำนวนต่ำและสามารถควบคุมได้</p><p>ขณะที่พบโรคลัมปิสกิน (Lumpy skin disease หรือ LSD) 584 ตัว ทั้งสองโรคนี้ไม่ติดต่อสู่คน แต่ติดต่อและแพร่กระจายในวัวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้วัวหมดมูลค่าและไม่สามารถค้าขายได้&nbsp;</p><p>นอกจากนี้ พบโรคแท้งติดต่อในวัว (Brucellosis) จำนวน 258 ตัว โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียตระกูล Brucella spp. ที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน ก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัด</p><p>สำนักสุขภาพสัตว์แห่งชาติยังเน้นความกังวลต่อเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ (Antibiotic resistant infection) ซึ่้งถููกจัดให้เป็นโรคติดต่ออุุบัติใหม่ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก และสร้างภาระต่อระบบสาธารณสุุข และความปลอดภัยอาหาร เพราะหากคนติดเชื้อดื้อยาแล้ว จะไม่สามารถรักษาโดยยาปฏิชีวนะที่มีอยู่เดิม</p><p>ในปี 2566 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ 7 แห่งทั่วประเทศทำการตรวจสอบเนื้อสัตว์ 2,674 ตัวอย่าง พบยาปฏิชีวนะตกค้างเกินมาตรฐาน</p><p>เป็นยาที่ใช้ต้านเชื้อ Salmonella spp. จำนวน 848 ตัวอย่าง และยาต้านเชื้อ E. coli 1,097 ตัวอย่าง และพบ 521 ตัวอย่างที่มียาต้านเชื้อทั้งสองชนิดเกินมาตรฐาน</p><h2>งบประมาณปศุสัตว์อันจำกัด</h2><p>มิใช่ไทยเท่านั้นที่เผชิญกับความท้าทายในการจัดการโรคข้ามพรมแดน แต่เป็นความท้าทายระดับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ที่แม้มีระบบประสานงานและคณะกรรมการโรคข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ แต่ยังขาดประสิทธิภาพด้วยข้อจำกัดทางทรัพยากร ทั้งด้านบุคลากรและการเงิน</p><p>เมื่อพิจารณาการจัดสรรงบประมาณให้กับกระทรวงที่ทำงานด้านเกษตรและปศุสัตว์ พม่าได้รับงบประมาณลดลงหลังรัฐประหาร ลดจาก 4% ของงบประมาณประจำปี 2562 เหลือ ประมาณ 0.4% และ 1.3% ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ</p><p>เช่นเดียวกับลาว ที่หน่วยงานด้านเกษตรและปศุสัตว์ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลเพียงประมาณ 1% ของงบประมาณทั้งหมดในปีนี้ สาเหตุหลักมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุ้มเร้าด้วยภาวะเงินเฟ้อสูง&nbsp;</p><p>ภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์ในเวียดนามได้รับการสนับสนุนน้อยกว่า 1% ของงบประมาณทั้งหมด แต่ยังสามารถจัดตั้งศูนย์ผลิตวัคซีนเพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปยังลาว</p><p>ขณะที่ไทยสามารถจัดสรรงบประมาณให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประมาณ 3% ของงบประมาณทั้งหมดมาต่อเนื่องทุกปี</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54190817264_3bc014d7da_o.png" width="499" height="299" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">กราฟงบประมาณรายประเทศ ดาวน์โหลดที่ Myanmar: <a href="https://www.datawrapper.de/_/kyPwk/">https://www.datawrapper.de/_/kyPwk/</a> Thailand: <a href="https://www.datawrapper.de/_/IQ14u/">https://www.datawrapper.de/_/IQ14u/</a> Laos: <a href="https://www.datawrapper.de/_/M1XmF/">https://www.datawrapper.de/_/M1XmF/</a> และ Vietnam: <a href="https://www.datawrapper.de/_/I2i5P/">https://www.datawrapper.de/_/I2i5P/</a>&nbsp;</p><p>ด้วยเสถียรภาพทางงบประมาณนี้ กรมปศุสัตว์ไทยสามารถผลิตวัคซีนต้านโรควัวแจกฟรีให้เกษตรกรมากกกว่า 100 ล้านโดสต่อปี รวมทั้งวัคซีนต้านโรคปากและเท้าเปื่อย 13 ล้านโดส และโรคลัมปิสกิน 600,000 โดส นอกจากจะมีวัคซีนเพียงพอรับมือโรควัวในไทยแล้ว ยังมีวัคซีนส่วนเกินที่ส่งออกไปยังเมียนมาและลาวอีกด้วย&nbsp;</p><p>“เราอาจไม่สมบูรณ์สุด ยังมีช่องว่างต้องปรับปรุง แต่เทียบศักยภาพในประเทศกลุ่มนี้ ไทยมีประสิทธิภาพสูงสุด” น.สพ.เทิดศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าว&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54186832365_843205fef6_k.jpg" width="2048" height="1366" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ที่มา: Chris Trinh</p><p>เมื่อวันที่ 4 ก.ย. ที่ผ่านมา นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ในฐานะผู้แทนองค์การสุขภาพสัตว์โลกของไทย ได้รับเลือกเป็นประธานคณะอนุกรรมการโรคปากและเท้าเปื่อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน ในการประชุมอนุกรรมการครั้งที่ 27 ณ กรุงเทพ</p><p>ความเคลื่อนไหวนี้สะท้อนถึงความมั่นใจของนานาชาติและจีนต่อระบบการดูแลและป้องกันสุขภาพสัตว์ในไทย และอาจเป็นสัญญาณที่ดีต่อความพยายามของไทยในการเจรจาเพื่อขอส่งวัวมีชีวิตให้จีน</p><p>ขณะที่อิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวต่อที่ประชุมวุฒิสภาเมื่อเร็วนี้ว่า กรมปศุสัตว์กำลังเจรจากับจีนเพื่อขอส่งวัวมีชีวิตไปยังจีนอีกครั้งภายใต้มาตรฐานการเลี้ยงและการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ</p><p>“เป็นการขอส่งตรงไม่ผ่านประเทศอื่น เราได้ส่งมอบเอกสารทุกอย่างให้จีนพิจารณาแล้ว หากเขายอมรับก็จะไปสู่ขั้นตอนตรวจสอบต่อไป”</p><div class="note-box"><p><strong>รายงานนี้เป็นความร่วมมือระหว่างประชาไท กับ </strong><a href="https://www.mekongeye.com/"><strong>Mekong Eye</strong></a><strong> ภายใต้การสนับสนุนจาก Internews' Earth Journalism Network</strong></p></div><p>&nbsp;</p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศษ</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทศ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" hreflang="th">สิ่งแวดล้อม</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99" hreflang="th">ชายแดน</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C" hreflang="th">ปศุสัตว์</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99" hreflang="th">ค้าวัวข้ามแดน</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">พม่า</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99" hreflang="th">การค้าชายแดน</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7" hreflang="th">กรรณิกา เพชรแก้ว</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> Sun, 08 Dec 2024 17:54:47 +0000 user8 111642 at http://prachatai.com http://prachatai.com/journal/2024/12/111642#comments สมชาย ปรีชาศิลปกุล: พลวัตขององค์กรอิสระ-ศาล รธน. ข้อเสนอ 3 ปฎิรูป [คลิป] http://prachatai.com/journal/2024/12/111641 <span>สมชาย ปรีชาศิลปกุล: พลวัตขององค์กรอิสระ-ศาล รธน. ข้อเสนอ 3 ปฎิรูป [คลิป]</span> <span><span>user8</span></span> <span><time datetime="2024-12-08T17:10:59+07:00" title="Sunday, December 8, 2024 - 17:10">Sun, 2024-12-08 - 17:10</time> </span> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p class="text-align-center"><iframe width="720" height="415" src="https://www.youtube.com/embed/oMIKV7bgTOo?si=H006YpHvo31QJIeD" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p>"เมื่อชนชั้นนำดั้งเดิมไม่สามารถเอาชนะในสนามเลือกตั้งได้ รวมมาถึงจนกระทั่งหลังสุด สิ่งที่ชนชั้นนำดั้งเดิมจะทำคือ ใช้องค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมากำกับทิศทางการเมืองแทน องค์กรที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่แค่ศาลรัฐธรรมนูญอย่างเดียว กกต. ป.ป.ช. และศาลยุติธรรม นี่คือสิ่งที่เรียกว่าการพลิกผัน ศาลรัฐธรรมนูญไทยจากเดิมที่จะทำหน้าที่ปกป้องประชาธิปไตย กลายเป็นการพิทักษ์อำนาจนำดั้งเดิม"&nbsp;</p><p>วันที่ 1 ธ.ค. 67 ที่ผ่านมา ประชาไทจัดเสวนา ‘องค์กรอิสระ-ศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบอย่างไร ไม่ขวางประชาธิปไตย’ ที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์เสวนา ‘ประเทศไทยในรอบ 20 ปี’ ในวาระครบรอบ 20 ปี ก่อตั้งสำนักข่าวประชาไท ร่วมเสวนาโดย รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศุภณัฐ บุญสด นักวิจัยจากสถาบันพระปกเกล้า โดยทั้ง 2 คนมีประสบการณ์การทำวิจัยเกี่ยวกับองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ&nbsp;</p><p>สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงประเด็นพลวัตรขององค์กรอิสระ-ศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน ที่แต่เดิมในช่วงแรกมีเจตนาดี ต้องการเป็นกลไกตรวจสอบถ่วงดุลระบบการเมืองที่เข้มแข็ง รักษาเสรีภาพของประชาชน แต่ท้ายที่สุดกลายเป็น ‘บ้องกัญชา’ ที่ทำลายระบอบประชาธิปไตย และพิทักษ์อำนาจชนชั้นนำทางการเมือง</p><p>สมชาย มองว่า แนวทางปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญมีด้วยกัน 3 แนวทาง คือ &nbsp; 1. ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ และให้อำนาจตัดสินข้อพิพาทด้านรัฐธรรมนูญ อยู่กับศาลยุติธรรม แต่ปัญหาที่พบคือ ศาลยุติธรรม ก็มีความยึดโยงกับประชาชนน้อยมาก การเลื่อน ลด ปลด ย้าย ไม่เกี่ยวกับประชาชนเลย</p><p>2. การปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญบางจุด โดยดูเรื่องที่สำคัญ เช่น กระบวนการคัดคนเข้ามา เพิ่มการตรวจสอบความรับผิดทางกฎหมาย</p><p>3. ตั้งองค์กรรูปแบบใหม่ขึ้น โดยยึดโยงกับสถาบันทางการเมืองมากยิ่งขึ้น เช่น ตุลาการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยใช้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถาบันทางการเมืองเข้ามาวินิจฉัยชี้ขาดมากยิ่งขึ้น เช่น ผู้นำฝ่ายค้าน ตัวแทน สส. และอื่นๆ นี่จะเป็นองค์กรที่เชื่อมโยงกับอำนาจทางการเมืองมากขึ้น</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54182579619_52bd9b7bef_k.jpg" width="1920" height="1080" loading="lazy"></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าว</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2" hreflang="th">มัลติมีเดีย</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2" hreflang="th">เสวนา</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">รัฐธรรมนูญ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">แก้รัฐธรรมนูญ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5" hreflang="th">สมชาย ปรีชาศิลปกุล</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0" hreflang="th">องค์กรอิสระ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">ศาลรัฐธรรมนูญ</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> Sun, 08 Dec 2024 10:10:59 +0000 user8 111641 at http://prachatai.com http://prachatai.com/journal/2024/12/111641#comments นายจ้างไทยสับมติต่ออายุแรงงานข้ามชาติ 24 ก.ย. 67 'ซับซ้อน ยุ่งยาก แพง' NGO หวั่นหลุดระบบอื้อ http://prachatai.com/journal/2024/12/111611 <span>นายจ้างไทยสับมติต่ออายุแรงงานข้ามชาติ 24 ก.ย. 67 'ซับซ้อน ยุ่งยาก แพง' NGO หวั่นหลุดระบบอื้อ</span> <span><span>XmasUser</span></span> <span><time datetime="2024-12-07T13:31:00+07:00" title="Saturday, December 7, 2024 - 13:31">Sat, 2024-12-07 - 13:31</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภาพปก: แรงงานก่อสร้างในประเทศไทย (ที่มา: หน่วยงานสื่อสาร สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.))</p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ผู้ประกอบการร่วมค้านมติต่ออายุใบอนุญาตทำงานแรงงานข้ามชาติ 24 ก.ย. 67 เพราะซับซ้อน ยุ่งยาก และราคาแพง แถมต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่กระชั้น ด้านภาคประชาสังคม หวั่นแรงงานพม่าหลุดระบบอื้อ กรมการจัดหางาน รับหาทางออก</p><p>&nbsp;</p><p>เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2567 เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) และเครือข่ายด้านแรงงาน ร่วมจัดเสวนาหัวข้อ "ชำแหละมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 24 กันยายน 2567 การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ" โดยได้ตัวแทนหลายภาคส่วน ทั้งผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม กรมการจัดหางาน และนักการเมือง มาร่วมสะท้อนปัญหามติคณะรัฐมนตรีต่ออายุแรงงานข้ามชาติ เมื่อ 24 ก.ย. 2567 ที่ได้เริ่มเอาระบบกึ่ง MOU เข้ามาใช้</p><p>ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย</p><ol><li aria-level="1">อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG)</li><li aria-level="1">ปัญญารักษ์ โรเก้ องค์กร Dignity in work for all</li><li aria-level="1">กิริยา กุลกลการ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</li><li aria-level="1">สหัสวัต คุ้มคง สส.พรรคประชาชน</li><li aria-level="1">นิลุบล พงษ์พยอม กลุ่มนายจ้างสีขาว</li><li aria-level="1">อรรถพันธ์ มาศรังสรรค์ ที่ปรึกษาด้านแรงงาน สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย</li><li aria-level="1">จำนงค์ ทรงเคารพ ผู้แทนจากกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน</li></ol><p>อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงาน MWG เกริ่นถึงภาพรวมมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 24 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา มีหลักสำคัญ 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1. การเปิดให้จดทะเบียน 4 สัญชาติ (เมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) ทั้งเข้ามาใหม่ และหลุดออกจากระบบ 2. ต่ออายุแรงงานข้ามชาติตามมติ ครม.เดิม 18 ก.พ. 2568 3. ขยายเวลาการเปลี่ยนนายจ้าง 30 วัน เป็น 60 วัน และสุดท้าย 4. งดเว้นการแจ้งเข้าในกรณีการขออนุญาตทำงานครั้งแรก</p><p>สำหรับมติ ครม. 24 ก.ย.ที่ผ่านมา หรือเรียกง่ายๆ ว่ามติต่ออายุใบอนุญาตทำงาน 24 ก.ย. 2567 ได้หยิบแนวคิด MOU เข้ามาใช้ เพื่อให้แรงงานอยู่ในไทยได้นานกว่าเดิม โดยการขออนุญาตทำงานได้ครั้งละ 2 ปี และต่ออายุ 2 ปี แต่ในทางปฏิบัติเหมือนว่าจะยังมีปัญหาอยู่มากโข</p><h2>ขั้นตอนยุ่งยาก เวลากระชั้น</h2><p>อดิศร ฉายภาพขั้นตอน 9 ขั้นตอน สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน โดยเริ่มจากยื่น namelist (บัญชีรายชื่อ) ผ่านช่องทางออนไลน์ให้กรมจัดหางาน จากนั้น กรมจัดหางานแต่ละท้องที่อนุมัติบัญชีรายชื่อ และให้นายจ้างเอาเอกสารไปยื่นที่สถานทูตประเทศต้นทาง สำหรับส่วนขยายของสถานทูตพม่า มีสำนักงานอยู่ 3 จังหวัด ได้แก่ ระนอง กรุงเทพฯ และเชียงใหม่</p><p>ต่อมา นายจ้างต้องเอาเอกสารจากประเทศต้นทางไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานและตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชน และสุดท้ายต้องไปตรวจลงตราวีซ่าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยทั้งหมดต้องเสร็จภายใน 13 ก.พ. 2567 หรือมีระยะเวลาอย่างน้อย 43 วันทำการราชการ</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54187688918_b552fd7ec7_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">ขั้นตอนการทำใบอนุญาตทำงานตามมติ ครม. 24 ก.ย. 2567</p><p>สิ่งที่น่ากังวลใจรอบนี้คือแรงงานพม่า เพราะมีจำนวนสูงถึง 2 ล้านกว่าคนที่ต้องทำเรื่องต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 เดือน</p><p>“หากพิจารณาจากแรงงานข้ามชาติพม่าที่ต้องต่ออายุ และต้องทำให้เสร็จก่อน 13 ก.พ. 2568 เฉลี่ยแล้วภาครัฐต้องดำเนินการตกวันละ 39,468 คน เกือบ 4 หมื่นคนต่อวัน แต่ถ้าประเทศต้นทางยังไม่เริ่มดำเนินการ ตัวเลขเฉลี่ยต่อวันจะเพิ่มขึ้นอีก”</p><p>“คำถามที่เป็นข้อกังวลใจแน่ๆ คือทันหรือไม่ และถ้าไม่ทันจะอย่างไร เพราะถ้าเกิดไม่ทัน หลัง 13 ก.พ. จะกลายเป็นผิดกฎหมายทันที” อดิศร กล่าว</p><p>ผู้ประสานงาน MWG เผยด้วยว่า ตอนนี้แนวโน้มแรงงานข้ามชาติพม่าอาจมีจำนวนมากขึ้น จากปัจจัยสำคัญคือมาตรการบังคับเกณฑ์ทหารของกองทัพพม่า โดยชายอายุ 18-35 ปีต้องรับราชการทหารเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี ปัจจัยดังกล่าวทำให้มีแนวโน้มว่าจะมีผู้ชายชาวพม่าอพยพเข้ามาในประเทศมากขึ้น 1.4 ล้านคนทีเดียว&nbsp;</p><p>"ถ้าเรายังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนเรื่องการต่ออายุคน 2 ล้านกว่าคน สิ่งที่จะเจอแน่ๆ ก็คือปัจจัยความเสี่ยงทั้งความมั่นคงของไทย ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ ปัญหาเรื่องการพึ่งพาแรงงานในระยะยาว และก็สิ่งหนึ่งที่ตั้งข้อสังเกตคือ ที่เราบอกว่าเรามีแรงงานผิดกฎหมายเยอะ มันเป็นเพราะนโยบายของรัฐหรือไม่" อดิศร กล่าว</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54187863430_759f7073cd_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">จำนวนแรงงานพม่าที่ต้องต่ออายุใบอนุญาตทำงาน</p><h2>หวั่นข้อมูลส่วนบุคคลหลุดถึงกองทัพพม่า</h2><p>อดิศร แสดงความกังวลด้วยว่า หากต้องดำเนินการในเวลากระชั้นอาจส่งผลให้แรงงานหลุดออกจากระบบ และด้านความปลอดภัยในชีวิต เพราะแรงงานข้ามชาติกังวลเรื่องติดต่อกับประเทศต้นทาง และความปลอดภัยในเรื่องการทำเอกสาร เพราะก่อนหน้านี้ ตอนที่นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ไปประชุม และได้พบนายพลทหารพม่ามินอ่องหล่าย สิ่งที่มินอ่องหล่ายขอคือให้ส่งข้อมูลแรงงานพม่าในประเทศไทยให้ แต่นายกฯ โยนให้กระทรวงแรงงานรับผิดชอบ และอีกอันก็คือ มีการออกแนวปฏิบัติจากประเทศต้นทางต่อบริษัทจัดส่งแรงงานว่า กรณีที่แรงงานเข้ามาในประเทศไทยครบ 2 ปีแล้ว สามารถถูกเรียกไปเป็นทหารได้ทันที</p><h2>ระบบออนไลน์ล่ม ไปทำเรื่องเองก็เสียค่านายหน้า</h2><p>นิลุบล ตัวแทนกลุ่มนายจ้างสีขาว และเป็นตัวแทนผู้ประกอบการรายกลาง-ย่อย กล่าวว่า เธอไม่เห็นด้วยกับมติ ครม. เมื่อ 24 ก.ย. 2567 เนื่องจากมีความยุ่งยาก และซับซ้อน</p><p>นิลุบล สะท้อนปัญหานายจ้างที่อยู่ในบริเวณพื้นที่วิกฤตน้ำท่วมภาคเหนือ และภาคใต้ ส่งผลให้นายจ้างได้รับผลกระทบ การเดินทางไปทำเรื่องต่ออายุแรงงานพม่ายากลำบาก ถนนถูกตัดขาดจากเหตุดินโคลนถล่ม อีกทั้ง ที่ตั้งส่วนขยายของสถานทูตมี 3 แห่งเท่านั้น คือ กทม. เชียงใหม่ และระนอง หากนายจ้างอยู่นอกพื้นที่ต้องเดินทางไกลเพื่อทำเรื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้มาในช่วงที่แรงงานพม่ากว่า 2 ล้านคนต้องต่ออายุใบอนุญาตทำงาน และเวลาในการดำเนินการไม่ถึง 2 เดือนจึงมีคำถามจากนายจ้างรายย่อยว่าทำไมถึงเลือกใช้วิธีการนี้ในสถานการณ์เช่นนี้</p><p>“ผู้ประกอบการเกือบ 100% ที่เราลงแบบสอบถามไป ไม่สนับสนุนกับการทำมติ ครม.นี้” นิลุบล กล่าว</p><p>นอกจากนี้ ระหว่างไลฟ์สดออนไลน์ของประชาไท มีผู้รับชมเข้ามาตั้งคำถามด้วยว่าคนทำงานชาวพม่ามีทุกจังหวัด แต่ทำไมสำนักงานของสถานทูตมีแค่เพียง 3 จังหวัดเท่านั้น</p><p>อย่างไรก็ดี จำนงค์ ทรงเคารพ จากกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ทางกรมฯ พยายามอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่โดยนายจ้างสามารถยื่นบัญชีรายชื่อ (namelist) ผ่านระบบออนไลน์ และหากนายจ้างประสบปัญหาไม่สามารถทำเรื่องเองได้ สามารถมอบอำนาจให้นายหน้าทำเรื่องแทนได้</p><h2>นายจ้างรายย่อยกุมขมับ ค่าใช้จ่ายเพิ่ม 2 เท่า</h2><p>นอกจากความยุ่งยาก และซับซ้อน นิลุบล กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการยังมีราคาที่แพงมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน เธอยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายแรงงานกรรมกร เดิมทำบัตรชมพู สมัยนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร อยู่ที่ 9 พันกว่าบาท แต่ต่ออายุใบอนุญาตทำงาน MOU แบบใหม่ ต้องใช้เงินสูงถึง 2.1 หมื่นบาทขึ้นไป โดยค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่รวม ‘ค่าคิวผี’ และอื่นๆ&nbsp;</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54187420566_5599da2a41_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">ภาพสไลด์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่อใบอนุญาตทำงานของกรรมกรข้ามชาติ (ที่มา: กลุ่มนายจ้างสีขาว)</p><p>ตัวแทนกลุ่มนายจ้างสีขาว กล่าวว่า บางกรณีนายจ้างต้องยื่นบัญชีรายชื่อให้กรมจัดหางาน ก็ประสบปัญหาระบบออนไลน์ล่ม ทำให้ต้องเดินทางไกลไปทำเรื่องที่สำนักงานกรมจัดหางานในพื้นที่ แต่พอไปถึง กลับพบว่าไม่มีคิว ต้องจ่ายเงินซื้อคิว สร้างภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มให้นายจ้าง ขอให้กรมจัดหางานช่วยแก้ไข นอกจากนี้ นายจ้างยังอยากได้ความชัดเจนเรื่องเวลาว่ากระบวนการทั้งหมดใช้ระยะเวลากี่วัน</p><p>“ดีไซน์ออกมา หารือผู้ประกอบการหรือคนที่มีส่วนร่วมบ้างหรือไม่ เพราะมันมีปัญหาสำหรับทุกฝ่าย เราไม่เคยมีส่วนร่วมเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการนโยบาย หรือชุดอนุฯ ต่างๆ” ตัวแทนสมาชิกผู้ประกอบการสีขาว กล่าว</p><p>ท้ายที่สุด ตัวแทนสมาชิกกลุ่มนายจ้างสีขาว เสนอว่าให้ทางการไทยช่วยตัดราคาค่าบัญชีรายชื่อ และตัดค่าภาษีออก เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้นายจ้าง และเสนอให้ภาครัฐปรับปรุงระบบให้เป็นออนไลน์ หรือทำศูนย์ One Stop Service เพื่อให้นายจ้างสามารถทำทุกอย่างได้เองโดยไม่ต้องจ่ายเงินพึ่งพานายหน้า หรือคิวผีอื่นๆ</p><h2>บริษัทต่างประเทศกังวลแรงงานบังคับ</h2><p>ปัญญารักษ์ ร่วมสะท้อนภาพมุมมองของผู้ซื้อ (Buyer) จากต่างประเทศ โดยแนวโน้มช่วงที่ผ่านมาสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ กำลังให้ความสำคัญในการนำเข้าสินค้าที่ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือสินค้าที่มาจากแรงงานบังคับ-แรงงานขัดหนี้</p><p>ปัญญารักษ์ แสดงความเป็นห่วงเช่นกันว่า ‘ค่าดำเนินการที่แพง’ และ ‘ขั้นตอนที่ยุ่งยาก’ ที่ทำให้ต้องใช้บริการนายหน้าลัดคิว กำลังส่งผลต่อผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะสมรรถนะการแข่งขันของธุรกิจไทย&nbsp;</p><p>ปัญญารักษ์ กล่าวต่อว่า ถ้าค่าใช้จ่ายที่แพงถูกผลักภาระให้กับแรงงาน ก็อาจทำให้เกิดภาวะแรงงานขัดหนี้ เนื่องจากแรงงานต้องไปกู้เงินเพื่อนำมาขึ้นทะเบียน แต่ขณะเดียวกัน หากนายจ้างต้องการแก้ไขปัญหาแรงงานขัดหนี้ ก็ต้องใช้ ‘หลักการนายจ้างจ่าย’ หรือนายจ้างจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดของแรงงาน ซึ่งปัญหาก็จะตามมาด้วยค่าใช้จ่ายของนายจ้างที่เพิ่มขึ้น และปัญหาการแข่งขันด้านธุรกิจติดตามมา&nbsp;&nbsp;</p><p>"ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการสรรหาแรงงานข้ามชาติ ซึ่งผู้ประกอบการไทยส่วนมากจำเป็น และไม่มีทางเลือกอื่นที่จะไม่ใช้ ควรจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผลเพียงพอที่จะนำแรงงานเข้าสู่ระบบอย่างแท้จริง ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะบานปลายหลังจากนี้ เพราะมันจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจไทย" ปัญญารักษ์ กล่าว</p><h2>หลักการดี คำถามคือภาครัฐพร้อมหรือไม่</h2><p>กิริยา อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เธอเข้าใจว่าทุกคนมีความฝันร่วมกันที่จะให้แรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานและอาศัยในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย อยู่อย่างมั่นคง ไม่ถูกขูดรีดและถูกเอาเปรียบ และเข้าใจว่ากระทรวงแรงงานคาดหวังเช่นเดียวกัน ความคาดหมายดังกล่าวนำมาสู่กระบวนการที่เปลี่ยนแปลงออกไป ทั้งกระบวนการที่ซับซ้อน ยุ่งยากมากขึ้น และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งคำถามสำคัญคือทุกฝ่ายพร้อมหรือยัง</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54186536357_5b430ae4fe_b.jpg" width="1024" height="570" loading="lazy">กิริยา กุลกลการ</p><p>กิริยา กล่าวว่า ถ้าเราดูจากภาครัฐ กระทรวงแรงงานอาจบอกว่าพร้อมแล้ว มีระบบออนไลน์ในการช่วยดำเนินการ มีปัญหาอะไรก็ค่อยปรับไประหว่างทาง ซึ่งสำหรับเอกชนเรื่องนี้มันรอไม่ได้ เพราะมันขึ้นกับความอยู่รอด และที่ไม่พร้อมที่สุดคือการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ เพื่อผู้ประกอบการทุกระดับให้เข้าใจกระบวนการต่ออายุใบอนุญาตทำงานแรงงานข้ามชาติ</p><p>ส่วนภาคเอกชนพร้อมหรือไม่ เพราะขั้นตอนดำเนินการที่ซับซ้อน และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาพร้อมกับช่วงเศรษฐกิจไทยที่ไม่ปกติ โตต่ำกว่า 3% และได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมภาคเหนือ และภาคใต้</p><p>ขณะที่แรงงานข้ามชาติก็ไม่พร้อม เพราะด้วยสถานการณ์ที่ไม่ปกติในเมียนมา ทำให้แรงงานกลัวข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ซึ่งต้องถามว่าภาครัฐได้คุยกับประเทศต้นทางเพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานแล้วหรือยัง ดังนั้น แม้ว่าหลักการ MOU จะเป็นสิ่งที่ทุกคนใฝ่ฝัน แต่ว่ามันใช่ช่วงเวลาหรือไม่ที่เราจะดำเนินการตามกระบวนการนี้ในช่วงสภาวะที่ทุกคนไม่พร้อม</p><p>“นายจ้างกับลูกจ้างเขาจับมือกัน NGO เขาร่วมอยู่ด้วย NGO มันต้องทะเลาะกับนายจ้าง วันนี้เขามารวมกัน เขาไม่โอเคกับภาครัฐ และการที่ทุกอย่างไม่ชัดเจน ขั้นตอนเยอะ และเวลาจำกัด ตามหลักวิชาการคือการเปิดช่องทุจริต ถ้าทุกอย่างชัดเจน ขั้นต่ำบริษัทเล็กๆ ต้องมีทางเลือกที่จะทำเองได้โดยไม่ต้องเสียค่าคนกลาง แต่ถ้าเขาทำเองไม่ได้ และเขาต้องการถูกกฎหมาย วิธีการมันก็คือทุจริตคอรัปชัน อันนั้นคือสิ่งที่เราอยากจะเห็นหรือเปล่า ใครได้ประโยชน์หรือเปล่า …อยากให้เป็นไปได้ไหมถ้าเราจะยืดเวลาออกไป ต่ออายุอีกสักหน่อยได้หรือไม่ แรงงานข้ามชาติมีความสำคัญกับประเทศมากๆ แต่ว่าการบริหารจัดการต่างหากที่เราต้องจัดการให้ดี” กิริยา กล่าว&nbsp;</p><h2>ชงกระจายหน้าที่ให้ท้องถิ่นช่วย</h2><p>สหัสวัต คุ้มคง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชลบุรี พรรคประชาชน มองว่าระบบการขึ้นทะเบียนควรอยู่บนหลักการ ‘ถูก เร็ว ง่าย’ แต่ตอนนี้ประเทศไทยเป็นระบบที่ แพง ยุ่งยาก และซับซ้อน ซึ่งขัดกับหลักการสากล</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54187704244_77f8e90c97_b.jpg" width="1024" height="650" loading="lazy">สหัสวัต คุ้มคง</p><p>สหัสวัต เห็นสอดคล้องกับกิริยา ว่า การจ้างงานแบบ MOU เป็นกระบวนการที่ดีมาก เพราะว่าแรงงานถูกจ้างอย่างถูกกฎหมายมาตั้งแต่ประเทศต้นทาง และเราทราบข้อมูลคนเข้า-ออกตลอดเวลา แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันพม่าอยู่ในสงครามกลางเมือง และแทบจะเรียกได้ว่าเป็น ‘รัฐล้มเหลว’ (Failed State) สถานการณ์แบบนี้ MOU เกิดขึ้นได้ยากมาก ซึ่งเราอาจจะต้องคิดถึงการจัดการเอกสารของแรงงานข้ามชาติของประเทศไทยฝ่ายเดียว</p><p>สำหรับข้อเสนอของพรรคประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญของกระบวนการต่ออายุใบอนุญาตทำงานที่แพง ซับซ้อน และยุ่งยาก สหัสวัต ได้เสนอว่าเป็นไปได้หรือไม่ถ้าจะให้บทบาท ‘ท้องที่’ ในการจดทะเบียนและต่ออายุใบอนุญาตทำงานของแรงงานข้ามชาติ แล้วให้มีการประสานงานด้านข้อมูลกับส่วนกลาง</p><p>เขาคิดว่าท้องถิ่นที่จะได้ประโยชน์ในการบริหารจัดการดูแลแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ และให้ศูนย์ในท้องถิ่นเป็นแบบ One Stop Service จัดการในประเทศทั้งหมด และเราค่อยกลับมาใช้ระบบ MOU หลังจากสถานการณ์เมียนมาฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ</p><p>หลังจบอภิปรายแล้วยังมีผู้ร่วมแสดงความเห็นอีกหลายคน โดยเฉพาะจากผู้ประกอบการที่สะท้อนปัญหาว่า คิวในการตรวจสุขภาพให้แรงงานข้ามชาติในบริษัทตามโรงพยาบาลรัฐให้เวลาค่อนข้างน้อย และเสี่ยงไม่ทันระยะเวลาดำเนินการ ซึ่งกรมการจัดหางาน ชี้แจงว่า หากโรงพยาบาลรัฐตรวจโรคให้แรงงานข้ามชาติไม่ทันเวลา สามารถดำเนินการตรวจโรคที่โรงพยาบาลเอกชนได้</p><p>ด้านจำนงค์ ตัวแทนกรมการจัดหางาน กล่าวระหว่างเสวนาด้วยว่า ทางกรมฯ ยินดีรับฟังข้อขัดข้อง และจะพยายามไปหาวิธีการดำเนินการแก้ไขมาให้ได้</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54187704249_54c4901ff3_b.jpg" width="1024" height="628" loading="lazy">จำนงค์ ทรงเคารพ</p><p>ส่วนปัญหาเรื่องคิวผี หรือคนที่ขายคิวให้นายจ้าง จำนงค์ กล่าวว่า ถ้าพบการกระทำดังกล่าว สามารถแจ้งทางกรมจัดหางาน</p><p>ต่อประเด็นขยายเวลาการดำเนินการต่ออายุแรงงานข้ามชาติหรือไม่นั้น ตัวแทนกรมจัดหางาน กล่าวว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการยื่นเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หากมีการยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์อย่างต่อเนื่อง และพิจารณาแล้วเห็นว่ายื่นไม่ทันจริงๆ อาจจะเป็นข้อมูลในการประกอบพิจารณาขยายระยะเวลาดำเนินการตามมติ 24 ก.ย. 2567 แต่ปัญหาที่พบคือนายจ้างชอบยื่นเอกสารใกล้วันหมดเวลาดำเนินการ&nbsp;&nbsp;</p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าว</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">แรงงาน</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชน</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิต</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">แรงงานข้ามชาติ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">พม่า</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2" hreflang="th">เมียนมา</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">กรมการจัดหางาน</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">กระทรวงแรงงาน</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%A5-%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A1" hreflang="th">นิลุบล พงษ์พยอม</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">นายจ้างสีขาว</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%89" hreflang="th">ปัญญารักษ์ โรเก้</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5" hreflang="th">อดิศร เกิดมงคล</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/migrant-working-group" hreflang="th">Migrant Working Group</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C" hreflang="th">อรรถพันธ์ มาศรังสรรค์</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E" hreflang="th">จำนงค์ ทรงเคารพ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" hreflang="th">กิริยา กุลกลการ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95-%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%87" hreflang="th">สหัสวัต คุ้มคง</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาชน</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> Sat, 07 Dec 2024 06:31:00 +0000 XmasUser 111611 at http://prachatai.com http://prachatai.com/journal/2024/12/111611#comments ลุ้นศึกตีความประชามติ 3 หรือ 2 ครั้ง ก่อนเจอด่านหิน ร่วมกดดัน สว.-ภูมิใจไทย http://prachatai.com/journal/2024/12/111619 <span>ลุ้นศึกตีความประชามติ 3 หรือ 2 ครั้ง ก่อนเจอด่านหิน ร่วมกดดัน สว.-ภูมิใจไทย</span> <span><span>XmasUser</span></span> <span><time datetime="2024-12-07T13:07:11+07:00" title="Saturday, December 7, 2024 - 13:07">Sat, 2024-12-07 - 13:07</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ</p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>สถานการณ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนนี้ มีแววว่าอาจถูกยืดเวลาออกไป หลัง กมธ.ประชามติ มีความเห็นว่าให้กลับไปใช้หลักเกณฑ์ทำประชามติแบบ 2 ชั้น (Double Majority) และสภาฯ มีแนวโน้มสูงจะไม่เอาหลัก 2 ชั้นโดยจะเอากลับไปใช้หลักเกณฑ์ 1 ชั้น (Single Majority) หาก 2 สภาโหวตออกมาไม่ตรงกัน ตามหลักกฎหมายต้องยุติการพิจารณากฎหมายดังกล่าว 6 เดือน จากนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงจะโหวตยืนยันได้</p><p>คำถามใหญ่ตอนนี้คือทางเลือกในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ทันสมัยรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ยังพอเป็นไปได้ไหม</p><p>'นิกร จำนง' จากพรรคชาติไทยพัฒนา ยืนยันว่าจากการตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ต้องทำประชามติ 3 ครั้ง และมองว่าแก้รัฐธรรมนูญไม่ทันสมัยรัฐบาลนี้แน่นอน แต่คาดหวังเบื้องต้นว่าจะตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ให้ได้ภายในปี 2570 ขณะที่ 'พริษฐ์ วัชรสินธุ' จากพรรคประชาชน เสนอต่างออกไปคือ ทำประชามติ 2 ครั้ง ‘ตอนแก้ ม. 256 ตั้ง สสร.-ครั้งท้าย’ ก็เพียงพอ อีกทั้งไม่ได้ขัดกับคำวินิจฉัย ถ้าทำได้ก็จะได้รัฐธรรมนูญใหม่ก่อนการเลือกตั้งหน้า</p><p>ด้านภาคประชาสังคมเชียร์ทำประชามติ 2 ครั้งเช่นกัน และมองไปไกลด้วยว่าด่านสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่แท้จริง คือ สว.ที่ส่วนใหญ่มีข้อวิจารณ์ว่าถูกฉาบด้วย 'สีน้ำเงิน' เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตั้ง สสร.รัฐธรรมนูญฉบับบนี้ล็อคไว้ว่า ต้องได้เสียง สว.มากกว่า 1 ใน 3</p><h2>เบื้องหลังคำวินิจฉัยเจ้าปัญหา ตีความ 'ประชามติ 3 ครั้ง'</h2><p>ก่อนหน้านี้ในสมัยรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อปลายปี 2563 พรรคการเมืองต่างๆ เคยมีความพยายามยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด 7 ฉบับ โดย 3 ฉบับเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 เข้ามาที่รัฐสภาแล้วครั้งหนึ่ง คือ ร่างของภาคประชาชน ร่างของพรรคพลังประชารัฐ และร่างของพรรคเพื่อไทย (ฝ่ายค้าน) แต่ทว่า สมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา และไพบูลย์ นิติตะวัน สส.พรรคพลังประชารัฐในขณะนั้น ได้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ารัฐสภามีสิทธิแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจัดตั้ง สสร.หรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า รัฐสภาสามารถแก้ไขได้ แต่ต้องทำประชามติถามประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ‘ก่อน’ ซึ่งนำไปสู่การตีความที่ไม่ตรงกันว่าต้องทำกี่ครั้งกันแน่ อย่างไรก็ดี ในการโหวตของสมาชิกรัฐสภาครั้งนั้นในวาระ 3 ถูก สว.โหวตคว่ำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยใช้ข้ออ้างจากคำวินิจฉัยของศาลนี้เอง</p><p>ทั้งนี้ หากดูใสรายละเอียดคำวินิจฉัยดังกล่าว (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564) จะพบว่า ‘คำวินิจฉัยส่วนตัว’ ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 6 คน จาก 9 คน มองว่าทำประชามติแค่ 2 ครั้งก็เพียงพอ</p><p>ในเวลานั้น<a href="https://www.ilaw.or.th/articles/43547"> เว็บไซต์ iLaw </a>ระบุว่า ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 (8) กำหนดไว้แล้วว่า หากแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 โดยเพิ่มหมวด 15/1 เรื่องจัดตั้ง สสร. หลังจากผ่านวาระ 3 แล้ว ก่อนจะบังคับใช้ต้องทำประชามติเสียก่อน เพื่อถามว่าประชาชนว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขตามที่รัฐสภาเห็นชอบหรือไม่&nbsp; หมายความว่าไม่จำเป็นต้องทำประชามติ ‘ก่อน’ วาระ 1 ตามที่ สว. สมชายและไพบูลย์ กล่าวอ้าง</p><h2>พรรคร่วมเสียงแตก ‘นิกร’ มองต้องประชามติก่อน</h2><p>สำหรับการตีความคำวินิจฉัย 4/2564 ของศาลรัฐธรรมนูญ แม้แต่ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลเองก็มีการตีความที่แตกต่างกัน</p><p>นิกร จำนง สส.จากพรรคชาติไทย พัฒนาเคยให้สัมภาษณ์รายการเจาะลึกทั่วไทย เมื่อ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา อ้างอิงถึงกรณีพริษฐ์ เดินหน้าคุยประธานศาลรัฐธรรมนูญอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อหาข้อสรุปว่าต้องทำประชามติกี่ครั้งกันแน่ แม้ว่าพริษฐ์ ให้สัมภาษณ์สื่อว่า ระหว่างหารือไม่มีใครพูดถึงการทำประชามติ 3 ครั้ง แต่นิกร เห็นว่าต้องทำประชามติถามประชาชนก่อนว่ามีความประสงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อประชาชน ‘เห็นชอบ’ แล้วจึงค่อยยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มเติมหมวด 15/1 เข้าสภาฯ ดังนั้น เขาจึงสรุปว่าไม่น่าจะได้รัฐธรรมนูญใหม่ภายในสมัยรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร อย่างแน่นอน แต่คาดหวังว่าจะได้ สสร.ภายในปี 2570 ซึ่งต่อให้มีการยุบสภาหรือหมดวาระรัฐบาล สสร.ก็ยังสามารถทำงานต่อไปได้</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53257907208_57cb2a25b4_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">นิกร จำนง (แฟ้มภาพ เมื่อ 15 ต.ค. 2566)</p><h2>ไทม์ไลน์ประชามติ 3 ครั้ง</h2><p>นิกร นำเสนอไทมไลน์ประชามติ 3 ครั้ง ไว้ดังนี้</p><p><strong><u>เดือน ธ.ค. 2567</u></strong> :&nbsp;มติ กมธ.ร่วม 2 สภาคงหลักเกณฑ์ประชามติ 2 ชั้น จะถูกส่งไปยังแต่ละสภา ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา หากสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบกับมติ กมธ.ร่วมฯ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกพับเก็บไว้เป็นระยะเวลา 180 วัน หรือ 6 เดือน หลังครบระยะเวลาดังกล่าว สภาผู้แทนราษฎรสามารถนำกฎหมายมาพิจารณาใหม่ เพื่อยืนยันอีกครั้ง</p><p><strong><u>กลางปี 2568</u></strong> : คาดว่า สส.จะผ่านร่างแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ โดยใช้หลักเกณฑ์เพียงชั้นเดียว (Simple Majority)</p><p><strong><u>ปลายปี 2568-ม.ค.2569</u></strong> : ทำประชามติครั้งที่ 1 ถามประชาชนว่ามีความประสงค์จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่</p><p><strong><u>กลางปี 2569-2570</u></strong> : ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 เรื่อง สสร.</p><p>ประชามติ ครั้งที่ 2 ถามประชาชน รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่อง สสร. ของรัฐสภาหรือไม่</p><p>เลือกตั้ง สสร. และยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่</p><p><strong><u>ปลายปี 2571</u></strong> : ทำประชามติครั้งที่ 3 ถามว่าประชาชนว่ารับรองร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่จัดทำโดย สสร.หรือไม่ และคาดว่าจะได้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่</p><h2>'พริษฐ์' ขอลองประชามติ 2 ครั้ง เดินสายคุยหลายฝ่าย</h2><p>หลังมติ กมธ.ร่วมประชามติสภาล่างไม่อาจเอาชนะสภาสูงได้ ทำให้กลับไปเป็นเสียงข้างมาก 2 ชั้นอีกครั้ง พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.พรรคประชาชน ก็ได้เริ่มเดินเกมคุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เริ่มจากหารือประธานศาลรัฐธรรมนูญอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2567</p><p>พริษฐ์ ให้สัมภาษณ์ถึงการพูดคุยกับตัวแทนศาลรัฐธรรมนูญว่า เป็นการประชุมอย่างเป็นทางการ มีเพียงประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวม 2 คนร่วมประชุมด้วยเท่านั้น ไม่สามารถเป็นบทสรุปจากศาลรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53878854807_9407538435_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">พริษฐ์ วัชรสินธุ (แฟ้มภาพ 25 ก.ค. 2567)</p><p>"ในการหารือนี้ ไม่มีความเห็นเลยว่าต้องทำประชามติ 3 ครั้ง” พริษฐ์กล่าวและเสริมว่า เขาได้ฉายภาพชัดเจนว่าจะทำประชามติหลังการแก้ไข ม.256 เพิ่มหมวด 15/1 จัดตั้ง สสร.ผ่านวาระ 3 ของรัฐสภา และอีกครั้งหนึ่งคือการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหลัง สสร.ยกร่างเสร็จแล้ว</p><p>หลังจากนั้นพริษฐ์ ได้นำข้อหารืออย่างไม่เป็นทางการกับ 2 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไปคุยกับฝั่งประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อโน้มน้าวให้ประธานสภาฯบรรจุวาระการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2 ร่าง คือ ร่างของพรรคก้าวไกล (ปัจจุบันเป็นพรรคประชาชน) และพรรคเพื่อไทย ยื่นไว้เมื่อปี 2567</p><p>ก่อนหน้านี้ประธานสภาระบุว่า เหตุที่ยังไม่บรรจุวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการทำตามคำแนะนำของคณะกรรมการประสานงานและเสนอความเห็นเพื่อประกอบการวินิจฉัยของประธานสภาฯ ซึ่งมีมติเสียงข้างมากไม่ให้บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าต้องทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่อง สสร. ตั้งแต่ก่อนเข้าสภาฯ วาระ 1</p><p>พริษฐ์ กล่าวว่า ตอนนั้นคณะกรรมการที่ให้ความเห็นกับประธานสภาฯ วิเคราะห์เพียงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ‘ฉบับกลาง’ เราเลยบอกกับเขาว่ามันมี 2 ข้อมูลใหม่ที่ควรคำนึงถึงคือ</p><p>1. คำวินิจฉัยรายบุคคลของตุลาการ 9 คน เป็นข้อมูลทางการเผยแพร่ในศาลรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่าความเห็นส่วนใหญ่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมองว่าทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอ</p><p>2. ข้อหารือที่ได้จากประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างไม่เป็นทางการ ที่เพิ่งไปหารือมา</p><p>“ประธานสภาและคณะกรรมการแจ้งมาว่า ถ้าอยากจะให้ประธานสภาวินิจฉัยใหม่ว่าบรรจุได้หรือไม่ ให้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพิ่มหมวด 15/1 เรื่อง สสร.เข้ามาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยด้วยข้อมูลใหม่”</p><p>“สิ่งที่ผมจะทำคือจะนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่อง สสร.เข้าไปอีกรอบหนึ่ง เพื่อจะเข้าสู่กระบวนการที่ประธานสภามาวินิจฉัยอีกครั้ง แต่ว่ารอบนี้จะมีการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่เข้ามา คือความเห็นรายบุคคลตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และข้อมูลการประชุมประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการ อย่างไม่เป็นทางการ” พริษฐ์ กล่าว</p><p>อย่างไรก็ดี&nbsp;<a href="https://www.bbc.com/thai/articles/c8rlzy0xnrko">บีบีซีไทย</a> สัมภาษณ์ ว่าที่ ร.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานและเสนอความเห็นเพื่อประกอบการวินิจฉัยของประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า จะนำข้อมูลใหม่ที่ได้จากพริษฐ์ไปประกอบการพิจารณา ข้อมูลที่ได้รับมาทั้ง 2 ส่วน มีโอกาสที่คณะกรรมการฯ จะกลับมติ เพราะข้อมูลใหม่นี้ทำให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีความกระจ่างมากยิ่งขึ้น</p><h2>กลัวทดลองไม่ได้ผล เสียเวลาตั้ง สสร.ไม่ทันรัฐบาลนี้</h2><p>ด้าน นิกร ได้แสดงความเป็นห่วงว่า การทดลองของพริษฐ์ที่จะผลักดันการทำประชามติ 2 ครั้ง อาจซ้ำรอยเหตุการณ์สมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วโดนคว่ำ ต้องเสียเวลา 4 เดือน และอาจทำให้กระบวนการต้องวนใหม่ ซึ่งจะพลาดพลั้งตั้ง สสร.ไม่ทันภายใน 2570 ไปด้วย</p><p>ขณะที่พริษฐ์ชี้แจงว่า การผลักดันประชามติ 2 ครั้ง จะไม่มีเสียเวลาเพิ่ม แต่จะ ‘เท่าทุน’ และแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เร็วขึ้น หากประชามติ 2 ครั้ง โดยให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 คู่ขนานไปกับร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งกำลังถูกเก็บเข้ากรุ 6 เดือน มีโอกาสที่จะทำประชามติครั้งแรกภายในปลายปี 2568 เพื่อถามประชาชนจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 โดยเพิ่มหมวด 15/1 หรือไม่ ซึ่งหากสำเร็จหมายความว่าจะประหยัดเวลาไปประมาณ 1 ปี แต่ถ้าหากไม่สำเร็จ ก็สามารถกลับมาใช้ประชามติ 3 ครั้งเหมือนเดิม</p><h2>ไทม์ไลน์ประชามติ 2 ครั้ง</h2><p>ประชามติ 2 ครั้งจากข้อเสนอภาคประชาชนมีไทมไลน์ ดังนี้&nbsp;<br><br><strong><u>ปลายปี 2567-กลางปี 2568</u></strong> : สภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นด้วยกับมติของ กมธ.ร่วมฯ ทำให้ร่างกฎหมายประชามติถูกดอง 180 วันก่อนสภาผู้แทนหยิบมาพิจารณาได้ใหม่ ในเวลาเดียวกันนี้ ให้มีการยื่นบรรจุวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 เรื่อง สสร.</p><p><strong><u>ปลายปี 2568</u></strong> : หลัง พ.ร.บ.ประชามติผ่านสภาฯ และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 ผ่านวาระ 3 แล้ว ให้เริ่มทำประชามติครั้งแรก โดยถามประชาชนว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 เรื่องการจัดตั้ง สสร. หรือไม่</p><p><strong><u>ปี 2569</u></strong> : หากประชาชน ‘เห็นชอบ’ ให้มีการเลือกตั้ง สสร. เพื่อมาทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยใช้เวลาตลอดทั้งปี</p><p><strong><u>ปี 2570</u></strong>&nbsp;: ทำประชามติอีกครั้ง เพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญใหม่จาก สสร. ซึ่งจะเสร็จก่อนเลือกตั้ง</p><h2>เตรียมเผชิญด่าน สว. เมื่อต้องแก้รัฐธรรมนูญ ตั้ง สสร.</h2><p>ไม่ว่าจะประชามติ 3 หรือ 2 ครั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อให้มี สสร.ก็ต้องการเสียงสมาชิกวุฒิสภา 1 ใน 3 หรือ 67 เสียง ขณะที่เป็นที่กล่าวถึงกันทั่วว่า สว.ส่วนใหญ่เอนเอียงไปในทางเดียวกับจุดยืนพรรคภูมิใจไทย จนสื่อมวลชนขนานนาม ‘สว.สีน้ำเงิน’</p><p>สส.พรรคประชาชน ยอมรับว่า เรื่อง สว.จะเป็นด่านถัดไป และไม่ปฏิเสธว่าเป็นด่านสำคัญ โดย กมธ.พัฒนาการเมืองฯ จะมีการออกหนังสือขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อหารือให้เห็นตรงกันกับแนวทางการทำประชามติ 2 ครั้ง หากสำเร็จจะได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา และหวังด้วยว่าหัวหน้าพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลจะไปคุยกับ สว. ให้เห็นตรงกัน และช่วยโหวตสนับสนุน</p><p>“ผมเชื่อว่าหัวหน้าพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลบางพรรค อาจจะมีความสามารถในการโน้มน้าว สว.ได้ดีกว่าผม” พริษฐ์ กล่าว</p><p>ณัชปกร นามเมือง สมาชิกคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (CALL) ให้ความเห็นว่า&nbsp; ตัวอย่างกรณีที่เห็นชัดคือท่าทีของตัวแทนของ สส.พรรคภูมิใจไทย 2 คนใน กมธ.ร่วมกันพิจารณา พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งตั้งแต่การประชุมครั้งแรก สส.พรรคภูมิใจไทย ยกมือให้ สว.ได้เป็นประธาน กมธ.ร่วมฯ ขณะที่ในการลงมติตัดสินว่าจะเลือกระหว่างหลักเกณฑ์ 2 ชั้น หรือ 1 ชั้น สส.พรรคภูมิใจไทย ก็ ‘งดออกเสียง’</p><p>สมาชิก CALL ประเมินท่าทีพรรคภูมิใจไทยว่า เรื่องนี้อาจจะไม่ได้หมายความว่าพรรคภูมิใจไทย ไม่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ เขาเชื่อว่าภูมิใจไทยก็อยากแก้ เนื่องจากพรรคใดก็ตามที่ขึ้นมาเป็นรัฐบาล ก็จะเผชิญปัญหาเสถียรภาพความมั่นคงของรัฐบาลเหมือนกันหมด แต่สิ่งที่ภูมิใจไทยพยายามทำคือ ทำยังไงที่จะเข้าไปแทรกแซงกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ผ่านการใช้กลไกวุฒิสภา</p><p>"ผมกลัวว่ามันจะเกิดเหมือนกับสมัยที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ คือมี สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งจริง แต่ว่ามีแต่งตั้งผสมมาด้วย และมีช่องทางให้พลพรรคของตัวเองเข้าช่องมาได้ ซึ่งมันจะทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่กลายเป็นเพียง 'พิธีกรรม'" ณัชปกร กล่าว</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53138474864_9f465430e5_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ณัชปกร นามเมือง (แฟ้มภาพ เมื่อ 23 ส.ค. 2566)</p><h2>‘รัฐบาล-ประชาชน’ ต้องร่วมกันกดดันพรรคภูมิใจไทย</h2><p>ณัชปกร กล่าวว่า เขาเสนอว่าพรรคร่วมรัฐบาลอื่นต้องกดดันให้พรรคภูมิใจไทยเอาด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดย สสร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100% หากภูมิใจไทยไม่ร่วมสังฆกรรม ก็ต้องยื่นเงื่อนไขปรับคณะรัฐมนตรี แต่จะสำเร็จไม่ ยังไม่ทราบ</p><p>ณัชปกร เสนอเพิ่มว่า อีกคีย์แมนสำคัญคือ 'ประชาชน' ที่จะต้องมาร่วมกดดัน สว. และทุกองคาพยพ โหวตลงมติ ‘เห็นชอบ’ แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยผ่านการเลือกตั้ง สสร. 100% แต่การกดดันที่ผ่านมาอาจยังไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยนัก</p><p>ณัชปกร มองว่า ส่วนหนึ่งประชาชนทั่วไปอาจยังไม่เห็นปัญหาของ สว. ไม่เหมือนสมัย 250 สว.ที่แต่งตั้งจากคณะรัฐประหาร และปัญหาความไม่เป็นเอกภาพระหว่างผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย และผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกล ทั้งที่ทุกคนต่างได้รับผลกระทบจากรัฐธรรมนูญชุดนี้</p><p>"ผมคิดว่าการเคลื่อนไหวของประชาชนคนทั่วไป ภาคประชาสังคม หรือสื่อมวลชน อันนี้แหละเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่มันเดินหน้า เพราะคาดหวังกับพรรคเพื่อไทยตอนนี้ก็ยากเพราะว่าเขาก็เปราะบาง จะไปเจรจาต่อรองกับภูมิใจไทยก็ยากเพราะรู้สึกว่าเขาถือไพ่เหนือกว่า ครั้นเราจะไปคาดหวังกับพรรคฝ่ายค้าน ก็ยากเข้าไปใหญ่ เพราะว่ามีจำนวน สส.มากจริง แต่ไม่มีอำนาจมากขนาดนั้น เพราะฉะนั้น ประชาชนทุกภาคส่วนต้องจับมือกันและกดดันให้ 3 องคาพยพ มันเดินหน้าต่อไปได้" ณัชปกร กล่าวทิ้งท้าย&nbsp;</p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศษ</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%87" hreflang="th">นิกร จำนง</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8" hreflang="th">พริษฐ์ วัชรสินธุ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">ณัชปกร นามเมือง</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">ประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">แก้รัฐธรรมนูญ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคภูมิใจไทย</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาชน</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/call" hreflang="th">CALL</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2" hreflang="th">สมาชิกวุฒิสภา</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> Sat, 07 Dec 2024 06:07:11 +0000 XmasUser 111619 at http://prachatai.com http://prachatai.com/journal/2024/12/111619#comments ข้อเสนอดีไซน์ใหม่ องค์กรอิสระ-ศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบได้-ยึดโยงประชาชน http://prachatai.com/journal/2024/12/111569 <span>ข้อเสนอดีไซน์ใหม่ องค์กรอิสระ-ศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบได้-ยึดโยงประชาชน</span> <span><span>XmasUser</span></span> <span><time datetime="2024-12-02T23:30:46+07:00" title="Monday, December 2, 2024 - 23:30">Mon, 2024-12-02 - 23:30</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภาพปก: บรรยากาศงานเสวนา "องค์กรอิสระ-ศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบอย่างไร ไม่ขวางประชาธิปไตย"&nbsp;</p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>นักนิติศาสตร์ร่วมเสนอหนทางปฏิรูปองค์กรอิสระ - ศาลรัฐธรรมนูญ ต้องมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย โดยให้ สส.-รมต.ร่วมสรรหา, เอาออกจากการบัญญัติในรัฐธรรมนูญและให้อยู่ในระดับ พ.ร.บ.เพื่อสภาฯ ตรวจสอบได้ หากบิดเบือนกฎหมายมีโทษอาญา, ทวงคืนพื้นที่ให้ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ อย่ารังเกียจนักการเมืองจนออกแบบเสียสมดุลอำนาจ</p><p>&nbsp;</p><p>1 ธ.ค.ที่ผ่านมา วาระครบรอบ 20 ปี ของสำนักงานข่าวประชาไท มีการจัดเสวนา "องค์กรอิสระ-ศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบอย่างไร ไม่ขวางประชาธิปไตย" โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศุภณัฐ บุญสด นักวิจัยจากสถาบันพระปกเกล้า โดยทั้ง 2 คนมีประสบการณ์การทำวิจัยเกี่ยวกับองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ</p><h2>ปัญหาการ copy-paste จากตัวแบบตะวันตก</h2><p>"จากการปลูกถ่ายสู่การผ่าเหล่าผ่ากอทางกฎหมาย หรือ ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ พอเหลาลงไปเป็นกลายเป็นบ้องกัญชา" &nbsp;</p><p>สมชาย เริ่มต้นโดยการกล่าวถึงปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญ ที่แม้ว่าจะเริ่มจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่มีเจตนาดี ต้องการเป็นกลไกตรวจสอบถ่วงดุลระบบการเมืองที่เข้มแข็ง รักษาเสรีภาพของประชาชน แต่ท้ายที่สุดกลายเป็น ‘บ้องกัญชา’ ที่ทำลายระบอบประชาธิปไตย และพิทักษ์อำนาจชนชั้นนำทางการเมือง</p><p>สมชาย วิเคราะห์ปัญหาโดยอธิบายผ่านบรรยากาศในช่วงยกร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ที่กระแสในหลายประเทศมองศาลรัฐธรรมนูญว่าคือ นวัตกรรมที่ช่วยปกป้องรัฐธรรมนูญและเสรีภาพของประชาชนที่ดีเยี่ยม เมื่อชุดความรู้นี้แพร่เข้ามาในประเทศไทย จึงเกิดเป็นงานวิชาการที่ศึกษาตัวแบบของต่างประเทศ ส่วนใหญ่คือฝรั่งเศส เยอรมนี และบางส่วนจากอังกฤษ สหรัฐฯ เพื่อนำมาปรับใช้ในเมืองไทย จนเกิดเป็นองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญในรัฐธรรมนูญ 2540</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54179198234_9d974d80d4_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">สมชาย ปรีชาศิลปกุล</p><p class="text-align-center">&nbsp; <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/oMIKV7bgTOo?si=afEK8wfDiyMmjhYm" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p>&nbsp;</p><p>อย่างไรก็ดี เมื่อนำมาใช้อย่างตรงไปตรงมา (Legal Transplant) โดยไม่คำนึงถึงบริบทภายในประเทศไทย ผลที่ได้กลับคืนมาจึงเป็นความพลิกผันจากที่เคยตั้งใจเอาไว้ ซึ่งเรียกว่า "Legal Irritant" ทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า “Hegemonic Preservation” หรือการ "พิทักษ์อำนาจนำดั้งเดิม" ขององค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ</p><p>"เมื่อชนชั้นนำดั้งเดิมไม่สามารถเอาชนะในสนามเลือกตั้งได้ รวมมาถึงจนกระทั่งหลังสุด สิ่งที่ชนชั้นนำดั้งเดิมจะทำคือ ใช้องค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมากำกับทิศทางการเมืองแทน องค์กรที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่แค่ศาลรัฐธรรมนูญอย่างเดียว กกต. ป.ป.ช. และศาลยุติธรรม นี่คือสิ่งที่เรียกว่าการพลิกผัน ศาลรัฐธรรมนูญไทยจากเดิมที่จะทำหน้าที่ปกป้องประชาธิปไตย กลายเป็นการพิทักษ์อำนาจนำดั้งเดิม" อาจารย์ประจำ มช. กล่าว</p><p>นอกจากนี้ ยังมีปัญหาว่า เรามีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาแล้ว 50 กว่าคน แต่หากจะหาผู้เชี่ยวชาญกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างเป็นที่ประจักษ์ กลับพบว่ามีน้อยมากๆ ทั้งที่ควรเป็นรากฐานของทำงาน ขณะเดียวกัน คำวินิจฉัยที่ยกระดับสังคมไปสู่ความก้าวหน้าก็ถูกตั้งคำถามว่ามีหรือไม่ ส่วนใหญ่กลับเป็นคำวินิจฉัยที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง</p><p>ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือคำวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกล แม้เป็นเพียงการเสนอแก้ไขมาตรา 112 ไม่ได้เสนอยกเลิก ทำให้เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญเริ่มต้นเป็นลำไม้ไผ่ค้ำยันความแข็งแกร่งของประชาธิปไตย แต่กลับตาลปัตรกลายเป็นส่วนขยายอนุรักษ์อำนาจนิยม รักษาสถานะอำนาจของชนชั้นนำดั้งเดิมให้คงอยู่ต่อไป</p><p>"ในความเห็นผม คำวินิจฉัยที่มีคุณภาพเปลี่ยนแปลงสังคมมีน้อยมาก และเราจึงพบเห็นการบ่อนทำลาย พื้นฐานหลักฐานทางกฎหมาย เกิดขึ้นเรื่อยๆ และเกิดขึ้นภายใต้การปราศจากการรับผิด ไม่มีความรับผิดทางกฎหมาย และทางการเมือง การเอาผิดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการเมืองช่องทางเหมือนเอาช้างลอดรูเข็ม คือยากมาก" สมชาย กล่าว</p><h2>ไม่ยึดโยงประชาชน ออกแบบบนฐานคิด ‘เกลียดนักการเมือง’</h2><p>ศุภณัฐ บุญสด นักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ เกิดในบรรยากาศที่เราอยากมีประชาธิปไตย แต่เราเกลียดนักการเมือง เราพยายามขับเคลื่อนประชาธิปไตย โดยไม่พึ่งนักการเมือง เลยให้ข้าราชการประจำมากำหนดทิศทางการเมืองไทย สะท้อนผ่านการออกแบบองค์กรอิสระมาคอยกำกับนิติบัญญัติ (สภาผู้แทนราษฎร) และฝ่ายบริหาร (รัฐบาล)</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54179341705_0c35aa5e68_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ศุภณัฐ บุญสด</p><p class="text-align-center"><iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/8remJMpe9js?si=0GLrK450pDwpXWMo" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p>ปัญหาขององค์กรอิสระมีด้วยกัน 4 ประการ คือ ประการแรก ไม่ยึดโยงกับประชาชน ยกตัวอย่าง สมาชิก กกต. มี 7 คน เสนอโดยคณะกรรมการสรรหาที่สัดส่วนจากศาลและองค์กรอิสระสรรหากันเอง สรรหาแล้วเสนอสมาชิกวุฒิสภารับรอง ซึ่ง สว.ก็ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน</p><p>ประการที่สอง เมื่อมันเกิดสภาพที่ไม่มีตัวแทนของประชาชน และคนที่คัดเลือกคือข้าราชการประจำ เราเลยได้องค์กรอิสระที่มาจากข้าราชการที่เกษียณ หรือขึ้นตำแหน่งสูงสุดของตัวเองไม่ได้ ทำให้เราได้ที่ไม่เชี่ยวชาญจริงๆ มาทำงานสำคัญของรัฐ</p><p>ประการที่สาม เมื่อการเกิดขึ้นขององค์กรอิสระมาจากความเกลียดชังนักการเมือง กลายเป็นว่าเราก็ออกแบบให้องค์กรอิสระมีอำนาจข้ามเส้นเข้ามาในปริมณฑลทางอำนาจของฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ เพื่อควบคุมอำนาจไม่ให้นักการเมืองมีอำนาจมากเกินไป ซึ่งปัจจุบันมีสะท้อนเรื่องนี้ผ่านคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญ เช่น การถอดถอนนักการเมืองจากประเด็นจริยธรรม การยุบพรรค การทำให้เลือกตั้งเป็นโมฆะ</p><h2>ตรวจสอบไม่ได้ ไม่ต้องรับผิดทางการเมือง-กฎหมาย</h2><p>ประการที่สี่ คือไม่มีใครตรวจสอบองค์กรอิสระได้ ยกตัวอย่างในต่างประเทศ สภาฯ มีเอกสิทธิ์ในการอภิปรายวิจารณ์การทำงานขององค์กรอิสระในการประชุมของรัฐสภาได้ แต่กลับกัน รัฐธรรมนูญไทย มาตรา 124 กำหนดไว้ว่า สส.เวลาพูดหรือวิจารณ์ต้องพูดถึงรัฐมนตรีเท่านั้นจึงจะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย ถ้าจะอภิปรายองค์กรอิสระก็เสี่ยงถูกดำเนินคดีอาญาและทางแพ่ง อีกทั้งในคณะกรรมาธิการของสภาฯ ก็ไม่สามารถเรียกองค์กรอิสระมาให้ข้อมูลตามกฎหมาย นี่เป็นช่องว่างใหญ่มากที่ทำให้เราไม่สามารถตรวจสอบองค์กรอิสระได้อย่างเต็มที่ และทำให้อำนาจขององค์กรอิสระขยายตามใจได้</p><p>นักวิชาการของสถาบันพระปกเกล้า ระบุต่อว่า ตอนที่ทำวิจัยเรื่ององค์กรอิสระ เคยมีข้อเสนอให้ศาลปกครองตรวจสอบองค์กรอิสระได้ แต่ปัญหาคือพอศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า องค์อิสระเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ นักวิชาการบางท่านจึงเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตรวจสอบ แต่กลายเป็นว่าในรัฐธรรมนูญแทบไม่ให้อำนาจเข้ามาตรวจสอบองค์กรอิสระ ดังนั้น ทำให้องค์กรอิสระนอกจากไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง และยังไม่ต้องรับผิดขอบทางกฎหมายด้วย</p><p>อย่างไรก็ดี ศุภณัฐ กล่าวว่าดูเหมือนแนวโน้มนี้จะดีขึ้น เพราะเมื่อปี 2566 ศาลปกครองพยายามเข้าไปตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระ โดยนิยามว่าอะไรคืออำนาจตามรัฐธรรมนูญ หรืออะไรคืออำนาจระดับปกครอง อำนาจตามรัฐธรรมนูญ คือถ้ารัฐธรรมนูญระบุอำนาจ กระบวนการ ตลอดจนผลทางกฎหมายอย่างชัดเจน ให้ถือว่าเป็นอำนาจระดับรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองจะเข้าไปตรวจสอบไม่ได้ แต่ถ้ากำหนดอำนาจหน้าที่ในลักษณะคร่าวๆ แต่ไม่กำหนดกระบวนการหรือผลทางกฎหมายเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ และถูกบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าเป็นอำนาจระดับปกครอง และศาลปกครองเข้าไปตรวจสอบได้ ดังนั้น ปี 2566 เรื่องการแบ่งเขตไม่ชอบด้วยกฎหมายของ กกต. ศาลปกครองก็เริ่มเข้ามาตรวจสอบแล้ว&nbsp;</p><h2>ยืนยันต้องมีผู้วินิจฉัยเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ</h2><p>สมชาย มองว่า แนวทางปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญมีด้วยกัน 3 แนวทาง คือ &nbsp;</p><p>1. ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ และให้อำนาจตัดสินข้อพิพาทด้านรัฐธรรมนูญ อยู่กับศาลยุติธรรม แต่ปัญหาที่พบคือ ศาลยุติธรรม ก็มีความยึดโยงกับประชาชนน้อยมาก การเลื่อน ลด ปลด ย้าย ไม่เกี่ยวกับประชาชนเลย</p><p>2. การปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญบางจุด โดยดูเรื่องที่สำคัญ เช่น กระบวนการคัดคนเข้ามา เพิ่มการตรวจสอบความรับผิดทางกฎหมาย</p><p>3. ตั้งองค์กรรูปแบบใหม่ขึ้น โดยยึดโยงกับสถาบันทางการเมืองมากยิ่งขึ้น เช่น ตุลาการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยใช้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถาบันทางการเมืองเข้ามาวินิจฉัยชี้ขาดมากยิ่งขึ้น เช่น ผู้นำฝ่ายค้าน ตัวแทน สส. และอื่นๆ นี่จะเป็นองค์กรที่เชื่อมโยงกับอำนาจทางการเมืองมากขึ้น</p><p>ถามว่าตัวแบบไหนดีกว่ากัน สมชายระบุว่า ตอบไม่ได้ เพราะว่าการจัดวางในสังคมให้ผลกระทบแตกต่างกัน แต่นี่เป็นความเป็นไปได้ 3 ทาง อย่างไรก็ตาม ในความเห็นส่วนตัวยืนยันว่าควรยังต้องมีองค์กรชี้ขาดข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญ แต่ต้องไปดูว่าจะคัดคนเข้ามาอย่างไร และมีกระบวนการตรวจสอบองค์กรอิสระอย่างไร</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/51669933304_b02c195e4e_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แฟ้มภาพ 10 พ.ย. 2564</p><h2>ครม.-สภาเป็นผู้สรรหา มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย</h2><p>ศุภณัฐ กล่าวถึงข้อเสนอเรื่องการออกแบบองค์กรอิสระว่าต้องทำให้องค์กรอิสระมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย หรือให้มีความยึดโยงกับประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยเสนอว่าคนที่จะเข้ามาทำงานในองค์กรอิสระ ต้องผ่านจากสถาบันที่ได้รับอำนาจจากประชาชน หรือก็คือรัฐสภา โดยใช้ขั้นตอนคือ รัฐมนตรีเสนอแล้วให้สภาฯ เห็นชอบ เพื่อให้เขาได้รับความชอบธรรมจากตัวแทนประชาชนอย่างเต็มที่</p><p>“การเข้าสู่ตำแหน่งต้องยึดโยงของประชาชน การเลือกตั้งต้องเชื่อมโยงกับประชาชน ไม่มีอะไรที่ซับซ้อน ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา กำหนดให้ตัว ครม. หรือรัฐสภา มีส่วนในการเลือกบุคคลไปดำรงตำแหน่ง และทำให้เกิดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย” ศุภณัฐ กล่าว</p><p>ด้านสมชาย ให้โจทย์เพิ่มว่า เวลาให้คนเข้ามาเป็นองค์กรอิสระ มีเรื่องที่ต้องคำนึงคือ 2 ตัวแสดงทางการเมืองอย่าง กลุ่มชนชั้นนำทางการเมือง และอำมาตย์ และกลุ่มนักธุรกิจกลุ่มทุนใหญ่ เราจะทำยังไงไม่ให้องค์กรอิสระเป็นส่วนขยายของระบอบข้าราชการ และธุรกิจเอกชน</p><h2>เสนอ 3 ทางออก แก้ปัญหาองค์กรอิสระ-ศาลรัฐธรรมนูญใหญ่เกินไป</h2><p>ศุภณัฐ ยังเสนอให้เอาองค์กรอิสระออกจากรัฐธรรมนูญ เพราะปัญหาทางกฎหมาย ก่อให้เกิดการรับผิดได้ยาก หากถอดองค์กรอิสระออกจากรัฐธรรมนูญ แล้วบัญญัติในระดับพระราชบัญญัติ ให้กลายเป็นองค์กรอิสระตามกฎหมาย ก็เกิดการตรวจสอบโดยรัฐสภาได้ นอกจากนี้ เขาเสนอด้วยว่าเราต้องแก้มาตรา 124 ของรัฐธรรมนูญ ให้รัฐสภาสามารถอภิปรายวิจารณ์การทำงานขององค์กรอิสระได้โดยได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย เพื่อให้เกิดการรับผิดรับชอบทางการเมือง</p><p>นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ระบุต่อว่า เราเพิ่มอำนาจองค์กรอิสระเพราะว่าไม่ไว้ใจนักการเมือง แต่เราต้องทวงพื้นที่ทางการเมืองปกติ ดึงปริมณฑลทางอำนาจให้นักการเมืองถูกตรวจสอบโดยตัวแทนของประชาชน ซึ่งปัจจุบันนักการเมืองตัวแทนของประชาชนถูกตรวจสอบตลอดเวลาอยู่แล้ว อย่างกรณีของรัฐบาลถูกอภิปรายไม่ไว้ใจจากฝ่ายค้าน หรือการทำผิดของนักการเมืองก็ทำให้เขาเสียความน่าเชื่อถือ ซึ่งอาจนำมาสู่การปลดออกจากรัฐมนตรี หรือประชาชนไม่เลือกตั้งคราวหน้าก็ได้ ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องเพิ่มอำนาจขององค์กรอิสระ</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54179246954_8ff5ca0914_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ศุภณัฐ บุญสด</p><h2>ให้รับผิดทางกฎหมาย บรรเทาพิษร้ายองค์กรอิสระ</h2><p>อาจารย์จาก มช. เชื่อว่าหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้ารูปเข้ารอย ก็คือ ทำให้รับผิดทางกฎหมายได้ในกรณีที่ตีความกฎหมายอย่างบิดเบือน กรณีการตีความกฎหมายเราพอยอมกันได้ แต่ถ้ามีกรณีที่เกี่ยวกับการบิดเบือนกฎหมายเข้ามา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องได้รับโทษทางอาญาหรือติดคุก นี่เป็นเรื่องสำคัญที่สุด</p><p>“การติดคุกได้ จะทำให้เขาใช้อำนาจอย่างระมัดระวัง การให้ใช้อำนาจอย่างไม่ต้องรับผิด มันจะทำให้เละเทะ” สมชาย กล่าว</p><p>สมชาย กล่าวต่อว่า อาจต้องมีองค์กรทำหน้าที่ชี้ขาดว่า คำตัดสินบิดเบือนกฎหมายหรือไม่ โดยบางประเทศให้ศาลยุติธรรมชี้ หรือบางประเทศให้การร้องต่อสภาฯ และสภาฯ ตั้งคณะกรรมการฯ ที่มีสัดส่วนหลากหลายอาชีพเข้ามาวินิจฉัย แต่ต้องอยู่หลักไม่คุกคามความเป็นอิสระของศาลรัฐธรรมนูญ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ตุลาการไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ แต่ยอมรับว่านี่คงไม่ได้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นง่ายๆ</p><h2>โจทย์ใหญ่ร่างรัฐธรรมนูญ สร้างสมดุลอำนาจใหม่</h2><p>ด้านศุภณัฐให้ข้อคิดเห็นว่า หากมีโจทย์การร่างรัฐธรรมนูญ หรือปฏิรูปกฎหมายขึ้นมาอีกครั้ง สิ่งที่เราต้องทำคือการคำนึงถึงบริบทภายในประเทศ และยอมรับว่าเราไม่มีความเป็นประชาธิปไตย หากเราไม่คำนึงถึง มันจะทำให้ฝ่ายการเมืองที่เป็นตัวแทนของประชาชนทำงานได้ยาก และองค์กรอิสระเหล่านี้จะเข้ามาทำลายประชาธิปไตยในที่สุด</p><p>ประเด็นต่อมา เราต้องรักษาสมดุลของคนที่มาจากการเลือกตั้งให้ได้ ถ้าเรามีหมุดหมายว่านักการเมืองเลวร้าย สุดท้ายอำนาจที่ออกแบบมันจะเอียง คนที่มีอำนาจจริงไม่ได้มาจากประชาชน คนที่มาจากประชาชนมีอำนาจนิดเดียว เราต้องหาสมดุลให้เจอระหว่างฝ่ายตรวจสอบ และฝ่ายการเมือง เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยมันเดินต่อไปได้</p><p>“ถ้าตัวแทนประชาชน (สสร.) ตอบว่า องค์กรอิสระยังควรมีอยู่ ก็ต้องหาคำตอบว่าเขาต้องมีอำนาจแค่ไหน ที่เหมาะสมระบอบประชาธิปไตย” ศุภณัฐ กล่าว<br>&nbsp;</p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าว</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชน</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิต</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0" hreflang="th">องค์กรอิสระ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">ศาลรัฐธรรมนูญ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">แก้รัฐธรรมนูญ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5" hreflang="th">สมชาย ปรีชาศิลปกุล</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%90-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%AA%E0%B8%94" hreflang="th">ศุภณัฐ บุญสด</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> Mon, 02 Dec 2024 16:30:46 +0000 XmasUser 111569 at http://prachatai.com http://prachatai.com/journal/2024/12/111569#comments วิเคราะห์กระแส ‘ชาตินิยม’ ชาวเน็ต ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงอิน ? http://prachatai.com/journal/2024/12/111568 <span>วิเคราะห์กระแส ‘ชาตินิยม’ ชาวเน็ต ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงอิน ?</span> <span><span>See Think</span></span> <span><time datetime="2024-12-02T19:55:53+07:00" title="Monday, December 2, 2024 - 19:55">Mon, 2024-12-02 - 19:55</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>เรื่อง: ศศิธร อักษรวิลัย, ศิชา รุ่งโรจน์ธนกุล</p><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์</p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>พักหลังมานี้กระแสชาตินิยมดูจะกลายเป็นประเด็นในโซเชียลมีเดียถี่ขึ้นมาอย่างมีนัยยะสำคัญ&nbsp;ทว่ามันแตกต่างไปจากชาตินิยมแบบเดิมๆ ที่เราคุ้น ความชาตินิยมใหม่นี้มีลักษณะผูกติดกับ “ความเป็นไทยใหม่” ซึ่งอิงจากความภูมิใจหรือความผูกพันเชิงอารมณ์ในระดับประชาชนมากขึ้น ไม่ได้กระจุกตัวอยู่กับประวัติศาสตร์ของชนชั้นสูงเหมือนเมื่อก่อน</p><p>ไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของพันธมิตรชานม กระแสเกลียดชังแรงงานพม่า ความภูมิใจว่าอาหารไทยดีที่สุดในโลก ดรามาเรื่องเคลมวัฒนธรรมระหว่างชาวเน็ตไทยและกัมพูชาที่ดูเหมือนไม่มีวันสิ้นสุด จนถึงเรื่องล่าสุด มีเหตุการณ์โรคไอกรนระบาดในโรงเรียนชั้นนำกลางเมือง แต่ชาวเน็ตกลุ่มหนึ่งกลับตั้งข้อสงสัยว่าต้นเหตุของการระบาดมาจากพวก “ต่างด้าว” หรือเปล่า</p><p>กระแสชาตินิยมแบบใหม่ๆ ในโลกออนไลน์เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทำไมคอนเทนต์ประเภทนี้จึงไวรัลง่าย อีกทั้งคนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งที่มีความคิดทางการเมืองแบบก้าวหน้าก็ดูจะอินกับกระแสนี้ด้วย เราควรมอง ‘ชาตินิยม’ อย่างไร และมันไหลลื่นไปจากความเข้าใจเดิมมากเพียงไหน</p><p>ประชาไทหาคำตอบเรื่องนี้กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันลาศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์</p><h2>นิยามคำว่า “ชาติ” ที่ต่างกัน</h2><p>ติณณภพจ์ผู้มีความสนใจทางวิชาการเรื่องหลังอาณานิคมนิยมและข้ามชาตินิยมอธิบายว่า กระแสชาตินิยมไม่เคยหายไปไหน และไม่ได้ปรากฏอยู่กับแค่กลุ่มอนุรักษนิยมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มก้าวหน้านิยมด้วย ทว่าหน้าตาของชาตินิยมที่ทั้งสองกลุ่มสมาทานนั้นแตกต่างกัน</p><p>ในสังคมไทย ชาตินิยมมักถูกให้ภาพว่าเป็นฝั่งตรงข้ามความเป็นสากลนิยม ดังนั้นภาพของชาตินิยมจึงมักถูกผูกติดกับขบวนการของกลุ่มอนุรักษนิยม (Conservatism)</p><p>ตัวอย่างเช่น ภาพของการจัดตั้งขบวนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อเหลือง หรือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ในการทวงคืนปราสาทเขาพระวิหาร และ ขบวนการ กปปส. ที่มีแนวคิดต่อต้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนแบบสากล โดยใช้ข้ออ้างว่าเราชาวไทยเรามี “ประชาธิปไตยแบบไทย” ของเราเอง</p><p>ตรงกันข้ามกับกลุ่มก้าวหน้านิยม (Progressivism) ที่มักจะถูกมองว่าห่างไกลกับคำว่าชาตินิยมพอสมควร เนื่องจากกลุ่มก้าวหน้านิยมถวิลหาในสิ่งที่เชื่อมโยงกับความเป็นสากลนิยมมากกว่า</p><p>อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นว่าคำอธิบายข้างต้นกลับดูไม่ไปด้วยกันกับกระแสชาตินิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นมาในโลกออนไลน์มาสักพัก&nbsp;ติณณภพจ์อธิบายว่าเป็นเพราะว่าหน้าตาของความชาตินิยมสำหรับคนรุ่นใหม่นั้นได้เปลี่ยนไปจากเดิม</p><p>แต่เดิมเราจะเห็นว่าชาตินิยมของกลุ่มอนุรักษนิยมมีสถาบันหลักของชาติเป็นศูนย์กลาง แต่สำหรับกลุ่มก้าวหน้านิยม ศูนย์กลางของคําว่าชาติคือประชาชน ความหมายของคําว่า “ประชาชน” คือต้องเป็นประชาชนกลุ่มที่มีใจรักประชาธิปไตย สนับสนุนหลักสิทธิมนุษยชน ใช้ภาษาที่สอดคล้องกับ “ลัทธิตื่นรู้นิยม” (Wokeism) และสนับสนุนความถูกต้องทางการเมือง (political correctness)</p><h2>หน้าตาของชาตินิยมใหม่</h2><p>ติณณภพจ์อธิบายว่า ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้หน้าตาของความชาตินิยมในยุคปัจจุบันแตกต่างไปจากเดิม เป็นเพราะตัวแสดง (actor) ที่เผยแพร่อุดมการณ์ชาตินิยมไม่ได้ผูกขาดไว้ที่รัฐเพียงอย่างเดียว กลายเป็นว่าในระดับประชาชนหรือชาวเน็ตก็ทำได้ด้วย</p><p>“สรุปแล้วชาตินิยมหายไปไหม คําตอบคือไม่หายไป มันดํารงมาตลอด แต่สิ่งที่ต่างไปจากเดิมก็คือ ตัวแสดงที่เผยแพร่ชาตินิยมซึ่งเดิมทีเป็นรัฐแต่ปัจจุบันเป็นองคาพยพทางวัฒนธรรม”</p><p>ติณณภพจ์กล่าวต่อไปว่า ภายใต้ร่มของกลุ่มขบวนการชาตินิยมก้าวหน้า (Progressive nationalist movement) เองก็สามารถแบ่งระดับความชาตินิยมออกได้เป็น 3 กลุ่มย่อย</p><p>หนึ่ง – กลุ่มที่อยู่สุดขอบ อย่างเช่น ชาวเน็ตที่กำลังทวงคืนวัฒนธรรมกลับมาจากกัมพูชา</p><p>สอง –&nbsp;กลุ่มต่อต้านแนวคิดกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลาง ที่พยายามบอกว่าความเป็นชาตินั้นต้องรวมวัฒนธรรมของชาติพันธุ์อื่นๆ เช่น ล้านนาและมลายู เข้ามาด้วย</p><p>สาม – กลุ่มภูมิภาคนิยมที่ยึดถือความเป็นพลเมืองโลก</p><p>โดย 3 กลุ่มนี้ก็มีการกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่เป็นการปะทะสังสรรค์กันแบบย่อมๆ&nbsp; เพื่อจูงใจให้อีกฝ่ายหันมาสมาทานจุดยืนของตนเองมากกว่า ซึ่งไม่ได้ถึงขั้นไต่ระดับไปเป็นขบวนการชาตินิยมแบบเดียวกับฝั่งอนุรักษนิยม หรือกลุ่มเรียกกันว่า “สลิ่ม”</p><p>เมื่อถามว่าหน้าตาความชาตินิยมของฝ่ายก้าวหน้านิยมเป็นแบบไหน ติณณภพจ์ยกตัวอย่างกรณีการเกิดขึ้นของพันธมิตรชานมเมื่อปี 2563 ซึ่งเดิมทีเริ่มต้นจากสงครามคีย์บอร์ดระหว่างชาวเน็ตไทยกับชาวเน็ตจีนแผ่นดินใหญ่ ก่อนจะแปรเปลี่ยนมาเป็นการรวมตัวหลวมๆ ของคนรุ่นใหม่ในเอเชียซึ่งสะท้อนแนวคิดเรื่องชาติที่เปลี่ยนแปลงลื่นไหล</p><p>“การเอาชาไทยมาใช้สู้กับชาวเน็ตจีนสะท้อนให้เห็นว่าสําหรับชาวไทย ชาติไทยเป็นสิ่งที่ดํารงอยู่ ไม่ได้หายไป เพราะถ้ามันหายไปมันจะไม่มีการกล่าวถึงชาไทย”</p><p>ในบริบทนี้ “ชานม” ที่เป็นเครื่องดื่มที่ฮิตในหลายประเทศ กลายมาเป็น “ภาพตัวแทนทางวัฒนธรรม” (Cultural Representation) โดยจะเห็นว่า “ชาไทยสีส้ม” ที่คนไทยชอบกินถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนชาติไทยและคนไทย นับเป็นความภูมิใจในระดับประชาชนจากความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนานาชาติ</p><h2>เมื่อม็อบปี 63 ซาลง กระแสชาตินิยมในอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น ?</h2><p>เดิมทีความเป็นชาตินิยมมักถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นปึกแผ่นเพื่อต่อสู้กับศัตรูร่วม กรณีช่วงการชุมนุมปี 2563 ศัตรูร่วมของคนไทยคือรัฐบาลในขณะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นคือการร่วมกันต่อสู้และสร้างนิยามความเป็นชาติขึ้นมาใหม่</p><p>แต่เมื่อกระแสการชุมนุมซาลงไป ศัตรูของชาติไม่ปรากฏเด่นชัดแล้ว ความชาตินิยมจึงกลายมาเป็นเครื่องมือในการสร้างศัตรูเพิ่ม</p><p>“พอเราไม่ได้มีรัฐเป็นศัตรูอย่างชัดเจนแล้ว กลายเป็นว่าเราต้องแสวงหาศัตรูใหม่และตั้งเป็นศัตรูทางวัฒนธรรมมาเป็นเป้าหมายที่จะต้องสู้ด้วย”&nbsp;</p><p>ตัวอย่างของเรื่องนี้มีมากมาย ไล่มาตั้งแต่ปรากฎการณ์ “เคลมโบเดีย” ซึ่งหมายถึง&nbsp;ดรามาการแย่งชิงทางวัฒนธรรมระหว่างชาวเน็ตไทยกับกัมพูชาที่ปะทุขึ้นมาได้เสมอมา หรือกรณี “เหยียดมา เหยียดกลับ” ของชาวเน็ตไทยและเกาหลีใต้ ทั้งในประเด็นเรื่องเค-ป็อป ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง หรือการด่าคนต่างชาติที่มาดูถูกอาหารไทย</p><p>“หากไร้ซึ่งศัตรูเราจะไม่รู้สึกถึงความเป็นเราร่วมกัน ดังนั้นคอนเซปต์แบบนี้ซึ่งฟังดูเป็นเรื่องการเมืองมาก มันก็ไหลบ่ามาสู่คอนเซ็ปต์ในทางวัฒนธรรมด้วย เพราะว่าก็ต้องยอมรับว่าอารมณ์ความรู้สึก (Sentiment) ของคนไทย ลึก ๆ แล้วเราเปราะบางกับความเป็นไทยมาตลอด”</p><p>ติณณภพจ์ระบุว่าคนไทยเปราะบางกับความเป็นไทยมากเสียจนกระทั่งเมื่อมี “คนอื่น” โดยเฉพาะชาวต่างชาติชื่นชมอาหารไทย ภาษาไทย หรือการท่องเที่ยวไทย คนไทยก็จะดีใจจนขนลุกขนพองและเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่ว่า “เห็นไหม ขนาดชาวต่างชาติยังเห็นคุณค่าเลย”</p><p>ความเปราะบางเช่นนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงภาวะที่คุณค่าหรือตัวตนเป็นสิ่งที่ต้องรอให้คนอื่นมาเติมเต็ม โดยเฉพาะการได้รับการยอมรับจากต่างชาติ แต่ในขณะเดียวกัน ความย้อนแย้งอีกอย่างหนึ่งก็คือความภาคภูมิใจที่ประเทศไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้น</p><p>วาทกรรม “ประเทศไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้น” เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของก้อนความรู้สึกชาตินิยมของคนไทย</p><p>ติณณภพจ์ให้ความเห็นว่า ในประโยคนี้ประกอบด้วย 2 อารมณ์ความรู้สึกที่ทับซ้อนกันอยู่</p><p>หนึ่ง – สะท้อนแนวคิดที่ว่าไทยเป็นประเทศพิเศษไม่เหมือนผู้ใด (Thai Exceptionalism) เพราะในภูมิภาคนี้ไทยรายล้อมไปด้วยประเทศอดีตอาณานิคม</p><p>สอง – เมื่อเป็นเรื่องของขบวนการชาตินิยม ชาวเน็ตไทยในกลุ่มก้าวหน้านิยมมักจะมีอารมณ์ความรู้สึกของการต่อต้านการครอบงำในทุกมิติเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว กล่าวคือ ความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายที่กุมอำนาจนำในความขัดแย้งต่างๆ เช่น อิสราเอลที่มีแนวโน้มครอบงําและใช้อํานาจบาตรใหญ่ข่มเหงรังแกชาวปาเลสไตน์ หรือจีนที่ถูกมองว่าครอบงำประเทศลาว เป็นต้น</p><p>“เพราะฉะนั้นเวลาเราพูดว่าภูมิใจจังเลยไม่เป็นเมืองขึ้นใคร เพราะความหมายที่หนึ่ง มันคือเรื่องของการโดดเด่นไม่เหมือนใคร กับความหมายที่สอง คือฉันไม่เคยรู้สึกภาคภูมิใจ ไม่เคยรู้สึกสมาทานกับปรากฏการณ์ที่เรียกว่า อำนาจนำ (hegemony) หรือ domination (การครอบงำ) ดังนั้น ตัวฉันไม่เคยถูก ครอบงำ (dominate) ไม่เคยถูกควบคุมโดยอำนาจนำ (hegemonize) ฉันรอด”</p><h2>ชาตินิยมเท่ากับ ‘สลิ่ม’ จริงหรือ</h2><p>คำว่า “สลิ่ม” เป็นคำศัพท์ในบริบทการเมืองไทยร่วมสมัย แต่เดิมใช้เรียกกลุ่มคนหรือพฤติกรรมของคนที่ดูจะไม่เชื่อมั่นในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย สนับสนุนให้กองทัพเข้ามามีบทบาททางการเมือง&nbsp;และมีความหลงผิดว่าตนเองดีเลิศและสูงส่งกว่าคนอื่น&nbsp;ต่อมาคำว่าสลิ่มก็ถูกนำไปใช้ในบริบทความหมายที่กว้างขึ้น</p><p>ประเด็นหนึ่งที่กลายมาเป็นข้อถกเถียงคือ กระแสความชาตินิยมที่เกิดขึ้นในอินเตอร์เน็ตในช่วงระยะหลังมานี้ มีความเหมือนหรือต่างกับ “ทัศนคติแบบสลิ่ม” หรือไม่ อย่างไร</p><p>ติณณภพจ์ให้คำตอบว่า “การนิยามความเป็นสลิ่ม” มีมากกว่าแค่เรื่องแนวคิดชาตินิยม เพราะการเกิดขึ้นของสลิ่มมีองค์ประกอบ 3 ประการ</p><p>ประการแรก – จุดยืนแบบการปฏิเสธความเป็นการเมือง (depoliticization) เนื่องจากกลุ่มคนที่ถูกจัดว่าเป็นสลิ่ม มีจุดยืนเรื่องเกลียดชังทางการเมืองและลดทอนความเป็นการเมืองในทุก ๆ เรื่อง</p><p>สอง – แนวคิดเรื่องการมองคนไม่เท่ากัน</p><p>สาม – ความรู้สึกต่อต้านความเป็นสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย</p><p>ติณณภพจ์กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่เราเห็นการแปะป้ายในโลกโซเชียล เช่น “พรรคเธอไปจับมือพรรคนั้นที่เคยก่อรัฐประหาร พวกเธอนั่นแหละเป็นสลิ่ม” การตอบโต้กันในลักษณะนี้เป็นแค่การใช้ภาษาในทางปฏิบัติเท่านั้น โดยในทางวิชาการ สิ่งนี้จะถูกเรียกว่า วัจนปฏิบัติศาสตร์ (Pragmatics) ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของภาษาศาสตร์</p><p>อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือคำว่า “ชาติ” และ “ความเป็นไทย” ในมุมมองที่แต่ละคนยึดถือนั้นไม่เหมือนกัน</p><p>จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่คนบางกลุ่มอาจไม่อินหรือหวงแหนกับสินค้าไทย เพลงไทยเก่าๆ หรือชุดไทย แต่ผูกโยงตัวเองเข้ากับ T-Pop ซึ่งก็คือเพลงป๊อปแบบไทยที่มีความเป็นสากล หรือความเป็นสมัยใหม่ทางการเมืองไทย (Thai Political Modernity) สิ่งเหล่านี้คือความเป็นไทยที่เป็นส่วนหนึ่งเข้ากับสังคมนานาชาติ ในทำนองเดียวกับชาไทยในพันธมิตรชานม</p><p>“เพราะฉะนั้นการที่เราบอกว่าไม่เคยอวยความเป็นไทยเลย แต่อยู่ดีๆ มาหวงแหน ก็ต้องเข้าใจนิดหนึ่งว่าที่เขาไม่หวงแหนเพราะเขาไม่หวงแหนชาติแบบเก่า แต่เขาหวงแหนชาติแบบใหม่” ติณณภพจ์กล่าว</p><h2>จุดอันตรายของชาตินิยม</h2><p>ตั้งแต่ต้นเดือนแล้วที่พรรคพลังประชารัฐจุดกระแสว่าไทยจะเสียเกาะกูดให้แก่กัมพูชา สืบเนื่องมาจาก MOU 44 ที่ไทยลงนามไว้ร่วมกับกัมพูชาตั้งแต่เมื่อปี 2544 ดรามาล่าสุดนี้ยังไม่ถึงกับลุกลามใหญ่โตอย่างกรณีเขาพระวิหาร ที่กลุ่มคนเสื้อเหลืองจุดประเด็นทวงคืนเขาพระวิหารเพื่อเป้าประสงค์ด้านการเมืองในประเทศแต่บานปลายไปเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศ</p><p>ติณณภพจ์แสดงความกังวลว่า ถ้าหากดูท่าทีของบรรดานักร้องเรียนที่ออกมารับลูก&nbsp;ประเด็นเกาะกูดก็อาจถูกยกระดับจากความขัดแย้งทางวัฒนธรรมไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองได้เหมือนกัน</p><p>“จุดที่เริ่มอันตรายก็คือเมื่อเราเปลี่ยนกลุ่มที่เราถือว่าเป็นศัตรูทางวัฒนธรรม ให้กลายมาเป็นศัตรูทางการเมือง อย่างที่เรากําลังเห็นกันอยู่ตอนนี้ กรณีเกาะกูดและ MOU 44”</p><p>ติณณภพจ์กล่าวว่า กรณีปราสาทเขาพระวิหารเป็นความขัดแย้งทางการเมืองและทางวัฒนธรรมที่รุนแรงที่สุดของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ในช่วงเวลานั้นขบวนการคนเสื้อเหลืองได้ทำให้ประเด็นดังกล่าวกลายเป็นความขัดแย้งที่ลุกลามจนกลายเป็นปัญหาระดับอาเซียน บวกกับเดิมทีไทยกับกัมพูชาเขม่นกันหนักอยู่แล้ว และมีปัจจัยหลายประการที่เอื้อให้มีการยกระดับความรุนแรงอยู่ตลอดเวลา</p><p>เมื่อเทียบกับพม่า แม้ที่ทางในทางประวัติศาสตร์ถูกจัดวางให้เป็นประเทศศัตรูคู่ขัดแย้งกับไทย แต่ในทางการเมือง ไทยกับพม่าไม่เคยมีจุดขัดแย้งที่รุนแรงจนสั่นคลอนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเช่นเฉกกรณีไทย-กัมพูชา</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li><a href="https://prachatai.com/journal/2024/11/111388">ทำไมชาวเน็ตไทย-กัมพูชาตีกันฉ่ำ ? วิเคราะห์รากปัญหา ดรามาแย่งชิงวัฒนธรรม</a></li></ul></div><p>&nbsp;</p><p>ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 พ.ย. ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้อง 6 ข้อที่กล่าวหาว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทยกระทำการล้มล้างการปกครอง เนื่องจากมีหลักฐานไม่เพียงพอให้เชื่อได้</p><p>แต่มีข้อสังเกตว่าคำร้องในประเด็นที่สอง เรื่อง MOU 44 รัฐบาลเพื่อไทยเอื้อประโยชน์ให้กัมพูชาหาประโยชน์ในเขตอธิปไตยทางทะเลของไทย ตุลาการมีมติ 7 ต่อ 2 ไม่รับคำร้องไว้พิจารณา</p><p>ซึ่งนั่นหมายความว่า ตุลาการเสียงข้างน้อยเห็นว่ามีหลักฐานเพียงพอว่าการกระทำของทักษิณและพรรคเพื่อไทยเป็นการล้มล้างการปกครอง จึงต้องรับเรื่องไว้วินิจฉัย</p><h2>“การทำให้เป็นมีม” จะช่วยลดความรุนแรง</h2><p>ติณณภพจ์กล่าวว่าปัจจัยที่จะช่วยยับยั้งศึกในโลกออนไลน์ไม่ให้กลายเป็นเรื่องรุนแรงได้คือ การทำให้เป็นมีม (Memetization)</p><p>ตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งระหว่างแฟนนางงามไทยกับแฟนนางงามฟิลิปปินส์ที่ปะทะกันในโลกออนไลน์เรื่อยมา อีกกรณีคือเหตุการณ์ตบกู้ศักดิ์ศรีระหว่างกะเทยไทยกับกะเทยฟิลิปปินส์ ที่ซอยสุขุมวิท 11 ที่ถูกเรียกว่าเป็น ‘วันกะเทยผ่านศึก’</p><p>กรณีหลังนี้ถูกทำให้เป็นมีมในโลกออนไลน์ทั้งในโซเชียลมีเดียไทยและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น การตัดต่อภาพ จากภาพของการต่อยกันให้กลายเป็นการใช้เวทมนตร์หรือภาพใช้คฑาต่อสู้กัน</p><p>เราจะเห็นว่าศึกของชาวเน็ตไทยกับฟิลิปปินส์ไม่มีความเสี่ยงที่จะถูกยกระดับความรุนแรงได้เท่ากับกรณีไทย-กัมพูชา ทั้งนี้ ก็มาจากการที่ไทยกับฟิลิปปินส์ไม่เคยมีข้อพิพาทกันในทางการเมืองที่รุนแรงด้วย</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li><a href="https://prachatai.com/journal/2024/03/108380">เควียร์ศึกษาใน #สุขุมวิท 11 | หมายเหตุประเพทไทย EP.513 [Live]</a></li></ul></div><p>&nbsp;</p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สัมภาษณ์</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคม</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">วัฒนธรรม</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2" hreflang="th">การศึกษา</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทศ</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1" hreflang="th">ชาตินิยม</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1" hreflang="th">ลัทธิชาตินิยม</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1" hreflang="th">อนุรักษนิยม</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1" hreflang="th">พันธมิตรชานม</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%94" hreflang="th">เกาะกูด</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B9%8C-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> Mon, 02 Dec 2024 12:55:53 +0000 See Think 111568 at http://prachatai.com http://prachatai.com/journal/2024/12/111568#comments รู้ไว้ก่อนดู! Wicked | หมายเหตุประเพทไทย EP.551 http://prachatai.com/journal/2024/12/111548 <span>รู้ไว้ก่อนดู! Wicked | หมายเหตุประเพทไทย EP.551</span> <span><span>user8</span></span> <span><time datetime="2024-12-01T11:07:23+07:00" title="Sunday, December 1, 2024 - 11:07">Sun, 2024-12-01 - 11:07</time> </span> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p class="text-align-center"><iframe width="720" height="415" src="https://www.youtube.com/embed/V33FdJN-zcc?si=hO8Zr2Kb_X5Uh6Ss" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p>หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ประภาภูมิ เอี่ยมสม และภาวิน มาลัยวงศ์ พูดถึงภาพยนตร์มิวสิคัล Wicked (2024) เรื่องราวของ 2 แม่มดแห่ง Oz กลินดาและเอลฟาบา และพูดถึงวรรณกรรม ละครเวที และจักรวาลที่เกี่ยวข้องกับโดโรธี พ่อมดและแม่มดแห่ง Oz นับตั้งแต่ The Wonderful Wizard of Oz (1900), Dorothy and the Wizard in Oz (1908), Wicked: The Life and Times of the Wicked Witch of the West (1995) และ Wicked : The Untold Story of the Witches of Oz (2003) ฯลฯ และเมื่อภาพยนตร์มิวสิคัล Wicked (2024) เข้าโรงฉาย จะมีประเด็นใดที่น่าติดตาม และจะพัฒนามาจากฉบับวรรณกรรมเมื่อร้อยยี่สิบกว่าปีมาแล้วอย่างไร ติดตามได้ใน #หมายเหตุประเพทไทย #wicked</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li><a href="https://www.youtube.com/watch?v=sTQsisntq94">จับตาเลือกตั้งสหรัฐ 2024 | หมายเหตุประเพทไทย EP.547</a></li><li><a href="https://www.youtube.com/watch?v=-FAqfFqPlvY&amp;t=1005s">ทำไมสหรัฐฯ กำหนดนโยบายช่วยอิสราเอล? | หมายเหตุประเพทไทย EP.548</a></li><li><a href="https://www.youtube.com/watch?v=ozKzBrSMEHQ&amp;t=44s">10 ปี Love Sick ย้อนมองพัฒนาการซีรีส์วายไทย | หมายเหตุประเพทไทย EP.549 [Live]</a></li><li><a href="https://youtu.be/AEvjQFJvvWw?si=475CF9aHtxvThCxT">ถล่ม WOKE เถลิงอำนาจทรัมป์ | หมายเหตุประเพทไทย EP.550</a></li></ul></div><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54171919374_8a5b3c1391_k.jpg" width="1920" height="1080" loading="lazy"></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าว</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">วัฒนธรรม</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">หมายเหตุประเพทไทย</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2" hreflang="th">มัลติมีเดีย</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/wicked" hreflang="th">Wicked</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C" hreflang="th">ภาพยนตร์</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2" hreflang="th">สหรัฐอเมริกา</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A1" hreflang="th">ประภาภูมิ เอี่ยมสม</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C" hreflang="th">ภาวิน มาลัยวงศ์</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> Sun, 01 Dec 2024 04:07:23 +0000 user8 111548 at http://prachatai.com http://prachatai.com/journal/2024/12/111548#comments 'ทลายมายาคติ-เลือกปฏิบัติการจ้างงานคนพิการ' นักสิทธิเห็นพ้องต้องเริ่มแก้ไขจากกฎหมาย http://prachatai.com/journal/2024/11/111488 <span>'ทลายมายาคติ-เลือกปฏิบัติการจ้างงานคนพิการ' นักสิทธิเห็นพ้องต้องเริ่มแก้ไขจากกฎหมาย</span> <span><span>XmasUser</span></span> <span><time datetime="2024-11-25T14:04:54+07:00" title="Monday, November 25, 2024 - 14:04">Mon, 2024-11-25 - 14:04</time> </span> <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภาพปก: บรรยากาศงานเสวนา&nbsp;</p></div> <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>วงคุยเปิดปมปัญหา 'มายาคติตีตรา ช่องโหว่-การบังคับใช้ทางกฎหมาย' ทำผู้พิการเข้าไม่ถึงสิทธิการจ้างงาน นักสิทธิฯ เห็นพ้อง การทลายปัญหาต้องเริ่มที่การแก้กฎหมายบนหลัก 'เข้าถึง' และ 'ช่วยเหลืออย่างสมเหตุสมผล'</p><p>&nbsp;</p><p>เมื่อ 8 พ.ย. 2567 สำนักข่าวประชาไท ร่วมด้วย ThisAble.me จัดเสวนา "งาน การเดินทาง อิสรภาพ: อุปสรรคและมายาคติที่คนพิการเจอ" ดำเนินรายการโดยมีนลัทพร ไกรฤกษ์ บรรณาธิการ ThisAble.me และมีวิทยากรร่วมพูดคุยดังนี้</p><ul><li aria-level="1">เสาวลักษณ์ ทองก๊วย นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสตรีพิการ ประสบอุบัติเหตุแล้วนั่งวีลแชร์ตอนอายุ 27 ปี ปัจจุบันทำงานเป็นสมาชิกคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิคนพิการ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการของสมัชชาคนพิการอาเซียน สมาคมสตรีพิการ เด็กพิการ และครอบครัว</li><li aria-level="1">ผศ.ดร. ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สอนเรื่องสิทธิคนพิการ และมีความสนใจเรื่องความสามารถในการเข้าถึง (Acessibiliy) การออกแบบที่เป็นสากล (Universal Desig) การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) ความเสมอภาค (Equality) และกฎหมายการเดินอากาศ</li><li aria-level="1">อรรถพล ศรีชิษนุวรานนท์ ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการพุทธมลฑล โดยใช้แนวคิดการดำรงชีวิตอิสระคนพิการเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก นอกจากนี้ยังมีความสนใจด้านการแสดง การเคลื่อนไหวทางภาคสังคม</li></ul><h2>ช่องโหว่ทางกฎหมายของการจ้างงานคนพิการ</h2><p>"พอเราไปสมัครงาน คุณรู้ไหมว่าเราไม่เคยได้ถูกสัมภาษณ์หรอกค่ะ เพราะเราเขียนว่ามีความพิการ (ใบสมัคร) มันลงตะกร้าหมด จนกระทั่งมาได้งานๆ หนึ่ง ซึ่งงานนี้เขารับเชิญไปทำ เป็นโรงแรมในจังหวัดพิจิตร เจ้าของโรงแรมเป็นพ่อของเพื่อน เป็นธุรกิจครอบครัว เขาเห็นว่าเราเคยทำงานธนาคารมาก่อนเลยชวนให้ไปทำบัญชี พี่ก็ได้ไปทำงาน ได้ค่าตอบแทนตามยุคสมัยนั้น เนี่ยถือเป็นมาตรการเฉพาะที่ครอบครัวเพื่อนจัดให้ เขาไม่ได้ดูว่าเราเป็นคนพิการ แต่ดูว่าเราเป็นคนที่มีศักยภาพ และก็เป็นเพื่อนของลูก"</p><p>เสาวลักษณ์ เล่าประสบการณ์การทำงานส่วนตัวเมื่อราว 30 ปีก่อนว่า ก่อนจะเริ่มขยับมาทำงานเคลื่อนไหวด้านนโยบายเกี่ยวกับคนพิการ</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54153529823_b455d6a821_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">เสาวลักษณ์ ทองก๊วย</p><p>เสาวลักษณ์ กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงในการจ้างงานคนพิการที่ชัดเจนคือมี พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ประกอบด้วยมาตรา 33 34 และ 35 โดยมาตรา 33 กำหนดให้เอกชนจ้างงานแบบสัดส่วน 100 : 1&nbsp; (พนักงานทั่วไป 100 คน : พนักงานพิการ 1 คน)&nbsp; หากบริษัทที่ไม่ต้องการจ้างงานตามสัดส่วนนั้นก็ใช้มาตรา 34 จ่ายเงินค่าปรับเข้ากองทุนพัฒนาคนพิการ หรือมาตรา 35 จ้างคนพิการทำงานสาธารณะประโยชน์ในพื้นที่ทั่วไป ทำให้คนพิการมีโอกาสถูกจ้างงานมากขึ้น เพราะมีกฎหมายกำกับและมีผลบังคับ</p><p>ดังนั้น เราจึงเห็นคนพิการออกมาใช้ชีวิตข้างนอกมากขึ้น มีโอกาสในการทำงานมากขึ้นผ่านการจ้างงานตามกฎหมายดังกล่าว คนพิการถูกพูดถึงในกระแสสังคมมากขึ้นในแง่มุมต่างๆ ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย</p><p>แม้จะเริ่มมีกฎหมายรองรับ มีการยกระดับกรมประชาสงเคราะห์เป็นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตัดคำว่า ‘สงเคราะห์’ ออกไปเพราะต้องการเป็นรัฐสมัยใหม่ แต่ผ่านไป 17 ปี ระเบียบปฏิบัติไม่ได้ปรับเปลี่ยนในเนื้อหาสำคัญ เช่น การกีดกัน การจำกัดสิทธิ การสร้างเงื่อนไขให้คนพิการไม่ถูกกล่าวถึงในกฎหมาย การเข้าไม่ถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ</p><p>เช่น มาตรา 1 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้คำนิยามไว้แค่ความพิการ โดยปราศจากเรื่องเพศสภาพ อายุ ชาติพันธุ์ ศาสนา ถิ่นที่อยู่ แสดงให้เห็นว่าไม่มีมิติของความเป็นมนุษย์ เวลารัฐบาลต้องรายงานสถิติคนพิการจึงไม่มีจำแนกประเภทที่ละเอียดเพียงพอ จำแนกเพียงเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ซึ่งเอามาใช้งานไม่ได้</p><p>แม้แต่จำนวนคนพิการที่รายงานโดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ก็ต่ำกว่าของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พก. ระบุว่ามี 2.2 ล้านคน สำนักงานสถิติฯ ระบุว่า 4.4 ล้าน เพราะสำนักงานสถิตินับจากคนพิการที่มีบัตรและไม่มีบัตร แต่ พก.นับจากคนมาทำบัตร แสดงให้เห็นว่าจำนวนสถิติมีปัญหา เมื่อไปดูจำนวนคนพิการที่ได้งานจึงเชื่อถือไม่ได้ อีกทั้งยังไม่สามารถเอามาวางแผนการส่งเสริมการจ้างงาน การส่งเสริมการศึกษา ซึ่งมีผลต่อตัวเลขคนพิการที่เข้าสู่ตลาดแรงงานทั่วไปได้</p><p>นอกจากนี้ ยังมีปัญหาว่า แม้มีบัตรคนพิการก็ไม่ได้แปลว่าได้สิทธิประโยชน์อัตโนมัติ ต้องไปแสดงเจตจำนงในทุกเรื่องแม้แต่เบี้ยคนพิการก็ต้องไปแสดงเจตจำนงก่อน ยังไม่นับเรื่องทัศนคติที่มักไม่คิดว่างานที่คนพิการทำคือเนื้องาน หลายครั้งคนพิการถูกรับเชิญไปงานต่างๆ แต่ไม่ได้ค่าเดินทาง ไม่ได้ค่าวิทยากร</p><p>ประเด็นสุดท้าย&nbsp;กฎหมายการจ้างงานคนพิการที่มีเงื่อนไขและล็อกสเปกทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติทุกมาตรา เกิดช่องว่างให้บุคคลที่ 3 เป็นตัวแทนคนพิการเข้ามาจัดการ โดยเฉพาะมาตรา 33 และ 35 เพราะเราไม่มีระบบจับคู่ตำแหน่งว่างกับผู้สมัครที่พิการ บริษัทจึงต้องพึ่งพาบุคคลที่ 3<br><br>เมื่อการจ้างงานมาตรา 33 ทำยาก มาตรา 34 ที่กำหนดให้จ่ายค่าปรับเข้ากองทุนพัฒนาคนพิการแทนการจ้างงานก็ได้รับความนิยมอยู่พักหนึ่ง เพราะเอกชนทำได้ง่ายกว่า จนกองทุนมีเงินเป็นหมื่นๆ ล้าน แต่ผ่านมาระยะหนึ่งบริษัทเริ่มท้อในการส่งเงินเข้ากองทุน เพราะนายจ้างมองไม่เห็นว่าคนพิการได้ประโยชน์อะไร ไม่มีรายงานว่าเงินที่จ่ายในมาตรา 34 สร้างคุณประโยชน์อะไร ทำให้นายจ้างหันมาใช้มาตรา 35 เลยกลายเป็นวัฏจักรที่หน่วยงานภาครัฐก็ไปพูดเชียร์มาตรา 35 พร้อมนำเสนอเทคนิคทางกฎหมาย&nbsp;</p><p>หากคนพิการถูกเลือกปฏิบัติจากการจ้างงานให้ไปร้องที่คณะกรรมการวินิจฉัยด้วยเหตุแห่งเพศ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ที่อยู่ภายใต้กฎหมายคนพิการที่มีอนุฯ ขจัดการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความพิการ และสามารถไปที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก่อนที่จะให้เรื่องดำเนินศาลแพ่งหรือศาลอาญา และต้องได้รับการพิสูจน์ว่าเสียหายหรือกำลังเสียหาย</p><h2>กฎหมายระหว่างประเทศไม่สามารถใช้วินิจฉัยในศาลไทยได้</h2><p>ด้านอาจารย์ลลิน ยกตัวอย่างคำวินิจฉัยประเทศอินเดียเรื่องที่วิกัส กุมาร (Vikash Kumar) ผู้พิการชาวอินเดีย ฟ้องหน่วยงานจัดสอบราชการที่ไม่ให้โจทก์สอบ เพราะเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหวแล้วขอคนช่วยเขียนคำตอบ&nbsp; โดยให้เหตุผลว่าตามกฎแล้วมีเพียงคนตาบอดเท่านั้นที่ขอคนช่วยเขียนคำตอบได้</p><p>“ถ้าคนพิการที่มีความสามารถ ไม่สามารถเข้าถึงการสอบแข่งขันได้เพียงเพราะว่าติดขัดข้อกำหนดจัดหาวิธีการที่เหมาะสมในการสอบ ไม่ใช่แค่คนพิการที่เสียโอกาส คนที่แพ้ที่สุดในเรื่องนี้คือ หน่วยงานจัดสอบราชการ เพราะปฏิเสธโอกาสของประเทศชาติที่จะได้คนมีความสามารถอยู่ในระบบ” ส่วนหนึ่งในคำวินิจฉัยของศาลอินเดีย ซึ่งอาจารย์ลลิลระบุว่ามีความก้าวหน้าอย่างมาก</p><p>นอกจากนี้ ศาลอินเดียใช้ความคิดเห็นทั่วไปของคณะกรรมการสิทธิคนพิการเรื่องการช่วยเหลือคนพิการที่สมเหตุสมผลมาตัดสิน ผลการตัดสินคดีความออกมาว่า หน่วยงานจัดสอบราชการต้องจัดหาคนช่วยเขียนให้ แต่สำหรับศาลไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้น</p><p>อาจารย์ลลิล หยิบยกคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดของประเทศไทย เรื่อง นักโทษขอปลดตรวน เนื่องจากคดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์และฎีกา และศาลปกครองกลางวินิจฉัยในปี 2564 กรณีที่ชาวต่างชาติจ่ายค่ารักษาพยาบาลแพงกว่าชาวไทยเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยทั้ง 2 เรื่องนำสนธิสัญญาหรือกฎหมายระหว่างประเทศ การเป็นรัฐภาคีของไทยมาร่วมพิจารณา แต่ถูกปัดตก เพราะศาลไทยไม่รู้กฎหมายต่างประเทศ และยังไม่นำอนุสัญญามาปรับเป็นกฎหมายภายใน</p><p>อย่างไรก็ดี เสาวลักษณ์ เสริมในส่วนที่ศาลมีการปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ&nbsp;โดยหยิบยกคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยเรื่อง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 26 ว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่&nbsp;</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54153529818_fc54b6ed25_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ลลิน ก่อวุฒิกุลรังศี</p><p>ทั้งนี้ ในวันที่ 29 ก.ค. 2551 ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการสหประชาชาติและปฎิบัติตามพันธกรณีที่ระบุไว้ในอนุสัญญาตั้งแต่วันที่ 28 ส.ค. 2551 (วันที่ให้สัตยาบันเป็นรัฐภาคี) หน่วยงานรัฐมีหน้าที่ตามพันธกรณีข้อ 27A กำหนดห้ามการเลือกปฏิบัติคนพิการทุกด้านเกี่ยวกับการจ้างงาน และข้อ G หลักเกณฑ์การรับคนเข้าทำงานต้องคำนึงถึงด้วย&nbsp;<br><br>ขณะที่ประกาศรับสมัครข้าราชการตุลาการและผู้ช่วยผู้พิพากษาระบุว่า ผู้สมัครต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามคือ กายหรือจิตใจไม่เหมาะสม การกำหนดลักษณะการรับผู้สมัครเช่นนี้อยู่ในกรอบกฎหมายคนพิการและสอดคล้องกับอนุสัญญาซึ่งนำไปสู่การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น ผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงออกมาว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 วรรค 3</p><p>ที่ผ่านมาคณะกรรมการมนุษยชนแห่งชาติแถลงมีข้อเสนอแนะให้กับ พก. ปรับกฎหมายคนพิการให้เป็นตามมาตรฐานสากล หรือ CRPD แต่ 2 ปีแล้วข้อเสนอแนะยังไม่นำมาพูด ยังไม่เห็นว่าหน่วยงานฝ่ายนิติบัญญัติและบริหารเคลื่อนไหวอะไร องค์กรคนพิการถูกจำกัดสิทธิเลยไม่เกิดความเคลื่อนไหว คนพิการในประเทศถูกเลือกปฏิบัติแบบเงียบๆ</p><h2>'ทัศนคติ' จุดตั้งต้นทำให้การจ้างงานคนพิการเป็นเรื่องยาก</h2><p>"แนวคิดการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการจะช่วยสร้างความเสมอภาคทางโอกาสในการคิดและตัดสินใจให้แก่คนพิการ การมีอยู่ของผู้ช่วยคนพิการ (Personal Assistant) หรือ PA คือผู้ช่วยที่ไม่คิดและตัดสินใจแทน แต่คนพิการก็ต้องเคารพผู้ช่วยในฐานะมนุษย์คนหนึ่งเหมือนกัน ไม่ใช่ไปจิกหัวใช้เขา ผมอาจจะเอื้อมหยิบของชั้นบนไม่ถึง ซึ่งผมอาจจะต้องการ PA มาช่วยบางเวลา คนพิการก็ไม่ได้อยากรบกวนใคร" อรรถพล กล่าว</p><p>หลังจากนั้น อรรถพล กล่าวถึงอคติและทัศนคติที่เป็นอุปสรรคต่อการจ้างงานคนพิการว่ามี 2 เรื่องหลักคือ 1.คนพิการไร้ซึ่งความสามารถ ไร้ซึ่งความคิดและการตัดสินใจด้วยตัวเอง 2. เรื่องบาปบุญ ที่เป็นความเชื่อถูกส่งต่อมาอย่างยาวนานและยังอยู่อย่างเหนียวแน่น</p><p>ตอนที่เจ้านายผมชวนให้กลับมาทำงาน ผมถามทำไมอยากให้ผมกลับไปทำงานทั้งที่ผมพิการ ถ้าเขาจ้างผมเพราะสงสารคงไม่ไป แต่เขาว่าคุณยังทำงานได้</p><p>อรรถพล ชี้ว่า หากทำให้ผู้คนมีวิธีคิดเช่นนี้ได้ ก็อาจไม่ต้องไปเริ่มต้นที่นโยบาย ไม่ต้องไปเริ่มต้นที่กฎหมาย ไม่ต้องไปเริ่มต้นจากผู้นำประเทศคนไหน มันเริ่มต้นเกิดจากแนวคิดหรือวิธีคิดของคนทำธุรกิจหรือจ้างงานเอง ถ้าทำไม่ได้ก็หาวิธีการแก้ไข</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54153698240_4b59069c76_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">อรรถพล ศรีชิษนุวรานนท์</p><p>นอกจากนี้ ที่ผ่านมายังไม่เคยเห็นนโยบายส่งเสริมอาชีพคนพิการไทยเลย ทั้งมีพวกเขามีศักยภาพ มีเพียงไม่กี่อาชีพที่พูดถึงกัน เช่น ขายล็อตเตอรี นักกีฬาพาราลิมปิก</p><p>"หากรัฐบาลและคนทำงานด้านคนพิการมีวิธีคิดโดยการสนับสนุนให้เขามีชีวิตอิสระได้ ผมว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สนับสนุนให้มีชีวิตต่อไป&nbsp;ซึ่งก็ยอมรับกฎหมายเป็นตัวที่ทำให้ทัศนคติปรับเปลี่ยนเร็วขึ้น ถ้าไม่มีกฎหมายแล้วรอให้ทัศนคติปรับเปลี่ยนเป็นไปได้ยาก"</p><p>ด้านเสาวลักษณ์ กล่าวโดยหยิบยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งไม่ได้เป็นรัฐภาคีกับ CRPD เพราะมั่นใจว่ากฎหมายคุ้มครองคนพิการของอเมริกา (The Americans with Disabilities Act : ADA) ดีอยู่แล้ว โดยเห็นได้จาก มาตรา 1 การเลือกปฏิบัติต่อคนพิการในการจ้างงานทำไม่ได้ ตั้งแต่ประกาศรับสมัครงาน การสัมภาษณ์ การได้งานทำ การเลื่อนขั้น และการปรับเปลี่ยนสถานที่ทำงาน ถ้าคนพิการรู้สึกว่าเลือกปฏิบัติสามารถฟ้องได้ภายใน 180 วัน และถ้ามีลูกจ้าง 15 คนขึ้นไปต้องจ้างงานคนพิการ 1 คน ไม่อย่างนั้นถือเป็นการเลือกปฏิบัติ</p><p>นอกจากนี้ ยังหยิบยกประสบการณ์ตรงตอนไปกินอาหารจีนที่รัฐหนึ่งในสหรัฐอเมริกาแล้วถูกปฏิเสธรับคนพิการเข้าร้าน เพราะพื้นที่แคบและขาดสิ่งอำนวยความสะดวก แขกในร้านเห็นก็ลุกขึ้นแล้วบอกว่า เจ้าของร้านทำแบบนี้สามารถเขาฟ้องได้ ทำให้เจ้าของร้านหน้าเสีย หลังจากนั้นไปร้านเดิมอีกรอบพบว่าทำทางลาด และต้อนรับคนพิการเข้าร้าน เรื่องนี้ทำให้เห็นว่ากฎหมายทำให้เกิดกระบวนการปรับเปลี่ยนสถานที่ กระบวนการทางสังคม และการสร้างความตระหนักรู้เกิดขึ้น</p><h2>ความคาดหวัง ความฝัน ของคนพิการ</h2><p>เสาวลักษณ์ หวังว่า กฎหมายต้องปรับให้ทันสมัยเท่าที่ทำได้ รูปธรรมคือต้องตัด พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มาตรา 35 วรรค 3 เรื่องการเลือกปฏิบัติในกฎหมายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการออก แผนยุทธศาสตร์ชาติควรแสดงถึงการปฏิบัติเรื่องคนพิการที่ทำได้จริงโดยลำดับความสำคัญ และองค์กรคนพิการเข้มแข็ง</p><p>นักเรียน นิสิตนักศึกษาทุกระดับชั้นควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและพันธกรณีระหว่างประเทศเพื่อทำลายมายาคติว่า สิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับความมั่นคง ความเป็นจริงเป็นคนละเรื่องกัน&nbsp;หากคุณภาพชีวิตของคนพิการไม่ดี คนพิการถูกเลือกปฏิบัติ คนพิการถูกจำกัดสิทธิ ก็จะไม่มีความมั่นคงเกิดขึ้น</p><p>“สิ่งหนึ่งของไทยที่เราเห็นว่ามันขาดคือ ความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility) และการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผล (Reasonable Accommodation) ซึ่งไม่มีเขียนในกฎหมายไทย การที่คนพิการจะเข้าถึงสิ่งต่างๆ ได้หมายถึงเราต้องปรับสภาพสังคม มีการออกแบบที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ (Universal Design) อย่างเช่น มีบันไดต้องมีทางลาด มีบันไดเลื่อน มีลิฟต์ เวลาเดินทางเราถือของหนักๆ เราก็อยากลงลิฟต์ ซึ่งมันไม่ใช่แค่สำหรับคนพิการ มันสำหรับทุกคน” สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ยังทำให้ฝันของอาจารย์ลลิน ไม่เป็นจริง</p><p>อาจารย์ลลิล กล่าวว่า เวลาเดินทางด้วย BTS หรือ MRT แล้วมีช่องว่างระหว่างชานชาลาควรหาแผ่นมาวางปิดช่องให้เข็นวีลแชร์เข้าไปได้ นี่จึงเป็นวิธีการการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผล หรือการเข้าถึงข้อมูลต้องคำนึงว่าทุกคนจะเข้าถึงได้ อย่างเอกสารราชการหรือคำพิพากษาพิมพ์เป็นไฟล์ .word .pdf&nbsp; แต่เวลาเผยแพร่เอกสารกลับปรินต์ออกมาแล้วสแกนกลับเข้าไปเป็นภาพ คนตาบอดก็อ่านไม่ได้ ฟอนต์และสระเพี้ยน แทนที่จะใช้ไฟล์ที่โปรแกรม Screen Reader อ่านได้ตั้งแต่ทีแรก</p><p>“สิ่งเหล่านี้เป็นการเข้าถึงสำหรับทุกคน มันคือการออกแบบที่เป็นสากล เรื่องนี้อยากให้หน่วยงานของรัฐทำแล้วมีการเผยแพร่” อาจารย์ลลิน กล่าว</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54153698475_cd96171653_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">บรรยากาศงานเสวนา</p><p>อาจารย์ลลิล กล่าวอีกว่า ต่อมาอยากเห็นการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง จริงจัง กล้าเลือกมาตรการอย่างเคร่งครัด จะเห็นได้จากกระทรวงคมนาคมของสหรัฐอเมริกาปรับเงินสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ (American Airlines) จำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเงิน 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เข้าสู่รัฐบาล ส่วนที่เหลือให้สายการบินเอาไปทำระบบรถเข็นคนพิการให้ดี ชดเชยความเสียหายให้กับคนที่ร้องเรียน แล้วต้องต้องรายงานให้กระทรวงฯ ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือรายงานเป็นระยะๆ เพื่อให้เห็นว่านำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์จริง</p><p>เรื่องใหญ่ที่หวังที่สุดคือ เรื่องทัศนคติและการมีส่วนร่วมคนพิการและไม่พิการอยู่ร่วมกันได้โดยคิดว่าเรื่องการเข้าถึงและการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผลเป็นหมุดหมายสำคัญที่จะได้ปรับทัศนคติที่เกิดขึ้น</p><p>ส่วนอรรถพล มีภาพความหวัง 3 ระยะ คือ 1.&nbsp;อยากเห็นคนพิการที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องการจ้างงานไม่เป็นธรรม แล้วส่งเสียงออกมาดังจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ยิน&nbsp;</p><p>2. ภาพความหวังระยะกลาง คือ อยากเห็นภาพทางสังคมและการเมืองเปิดโอกาสรับแนวคิดการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ</p><p>3. ภาพความหวังระยะท้ายคือ แก้รัฐธรรมนูญใหม่ ประชาธิปไตยและแนวคิดของการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการเป็นเรื่องเดียวกัน ถ้ารัฐธรรมนูญถูกออกแบบไม่ให้เกิดการรัฐประหาร เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นหนทางที่จะช่วยลดอคติเรื่องคนพิการลดลงได้</p></div> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าว</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือง</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชน</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิต</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="node-taxonomy-container"> <ul class="taxonomy-terms"> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" hreflang="th">สิทธิผู้พิการ</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A2" hreflang="th">เสาวลักษณ์ ทองก๊วย</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B8%B5" hreflang="th">ลลิน ก่อวุฒิกุลรังษี</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%9E%E0%B8%A5-%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C" hreflang="th">อรรถพล ศรีชิษนุวรานนท์</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิการจ้างงาน</a></li> <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/thisableme" hreflang="th">thisable.me</a></li> </ul> </div> <!--/.node-taxonomy-container --> <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div> Mon, 25 Nov 2024 07:04:54 +0000 XmasUser 111488 at http://prachatai.com http://prachatai.com/journal/2024/11/111488#comments